ขนมจ้างเมืองจันทบุรี "ดีนักแล"ตามพระราชหัตถเลขา
ขนมจ้างเมืองจันทบุรี "ดีนักแล"ตามพระราชหัตถเลขา
เมื่อคราวที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเมืองจันทบุรี จุลศักราช ๑๑๘๑ (พ.ศ.๒๔๑๙) ได้พระราชนิพนธ์เรื่องของเมืองจันทบุรีไว้มากมาย
ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "ขนมจ้าง" ตรัสว่า...ต้องใสเหมือนแก้ว ไม่มีรสขม และเหนียวนุ่ม...
ขนมจ้าง นิยมทำกันทั่วไป ประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำ และน้ำด่าง โดยนำข้าวเหนียวแช่น้ำด่าง ประมาณ 3-5 ชั่วโมง ต่อจากนั้นให้นำข้าวเหนียวมาห่อด้วยใบไผ่ เมื่อห่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำไปต้มจนกว่าจะสุก ก็จะได้ตามที่ต้องการ
เคล็ดลับในการทำขนมจ้างให้อร่อยคือ"น้ำด่าง"ซึ่ง"เถ้า"นี้ถือเป็นเคล็ดลับของความอร่อย ที่เมืองจันทบุรี น้ำด่างจากเถ้านี้ทำด้วยไม้ชนิดหนึ่ง(ซึ่งมีผู้รู้บอกว่าเป็นไม้โกงกาง และอีกท่านหนึ่งบอกว่าไม้ปอทะเล แต่ผู้เขียนไม่อาจยืนยันได้ว่าใช้เถ้าจากไม้ใดแน่เพราะเป็นเคล็ดลับ เพียงเล่าสู่กันฟัง)ซึ่งการทำน้ำด่างให้ได้คุณภาพนับว่าเป็นภูมิปัญญาด้านการทำขนมของคนจันทบุรี
วิธีการกินให้อร่อยของคนจันทบุรี นิยมกินโดย"จิ้ม"ขนมจ้างบนน้ำอ้อย*"หนองบัว"บอกได้เลยว่า...เข้ากัน...สุดสุด
แต่สำหรับผู้เขียนชอบขนมจ้างราดด้วย"ตังเมอ้อย" ซึ่งตังเมนี้มีทำที่เดียวคือตำบลหนองบัว รับรองได้ว่าอร่อยไม่แพ้"คาราเมล"แน่นอน
*น้ำตาลอ้อย คนจันทบุรีดั้งเดิมเรียกว่า"น้ำอ้อย"
ผู้เขียน
สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี
นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี
(จำนวนผู้เข้าชม 1532 ครั้ง)