บทบาทหน้าที่
หน้าที่และความรับผิดชอบของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
 
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  จันทบุรี มีหน้าที่ในการพิจารณาและวิเคราะห์การขออนุมัติทำลายเอกสารของส่วนราชการ ต่างๆ 8 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ชลบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และสระแก้ว ตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงาน สารบรรณ พ.ศ. 2526 ข้อ 66 – 70 และตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พิจารณาจัดทำข้อตกลง โดยเป็นผู้ประสานงานไปยังกรมให้กับหน่วยงานต่างๆ 8 จังหวัด รับผิดอบตามระเบียบงานสารบรรณ ข้อ 69.2 ดำเนินการรับมอบเอกสารของส่วนราชการต่างๆ ตรวจสอบและติดตามทวงถาม วิเคราะห์และประเมินคุณค่าเอกสารที่ได้รับมอบจากส่วนราชการต่างๆ ตรวจสอบเนื้อหาเอกสารว่าเอกสารส่วนใดควรเปิดเผยหรือควรปกปิด ควบคุมการทำลายเอกสารที่ผ่านการประเมินคุณค่าแล้ว พิจารณารับฝากเอกสารจากส่วนราชการต่างๆ ตามระเบียบงานสารบรรณ ข้อ 60 (ยกเว้นเอกสารการเงิน) ติดตามและรับมอบเอกสารที่มีอายุเกิน 25  ปี หรือเอกสารที่พ้นกระแสการใช้งานแล้ว บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติและประเพณีสำคัญของท้องถิ่นที่รับผิดชอบ เก็บรวบรวม แสวงหา รวมทั้งให้การอนุรักษ์เอกสารลายลักษณ์ และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ
 
 
 
 
 
การดำเนินงาน
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  จันทบุรี แบ่งการบริหารงานออกเป็น 4 งาน
 
1. บริหารงานทั่วไป
ทำหน้าที่รับผิดชอบงานสารบรรณ บุคลากร การเงินและพัสดุ การจัดทำแผนงานงบประมาณ ดูแลอาคารสถานที่และรักษาความปลอดภัย
 
2. งานเอกสารจดหมายเหตุ
ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบการขออนุมัติทำลายเอกสารของ ส่วนราชการต่างๆ รับมอบเอกสารและวิเคราะห์ประเมินคุณค่าเอกสาร จัดหมวดหมู่ จัดทำเครื่องมือช่วยค้น และอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ
 
3. งานบันทึกเหตุการณ์
ดำเนินการรวบรวมข้อมูล สังเกตการณ์และบันทึกเหตุการณ์สำคัญในท้องถิ่น
 
4. งานบริการและส่งเสริมกิจการงานจดหมายเหตุ
ให้บริการค้นคว้าวิจัย และจัดกิจกรรมเอกสารจดหมายเหตุ เพื่อการเรียนรู้และเผยแพร่

(จำนวนผู้เข้าชม 1324 ครั้ง)