โครงกระดูกมนุษย์จากวัดชมชื่น : หลักฐานของคนก่อนสุโขทัย
โครงกระดูกมนุษย์จากวัดชมชื่น : หลักฐานของคนก่อนสุโขทัย
วัดชมชื่น เป็นโบราณสถานตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ใกล้กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง นับเป็น ๑ ใน ๓ โบราณสถานที่ยังปรากฏร่องรอยทางสถาปัตยกรรมที่มีความเก่าแก่กว่าสมัยสุโขทัย ทั้งยังมีการขุดค้นพบหลักฐานบ่งบอกที่มาของผู้คนในเมืองศรีสัชนาลัย เมืองลูกหลวงสำคัญแห่งอาณาจักรสุโขทัยอีกด้วย
จากการขุดค้นทางโบราณคดี เราพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานบริเวณวัดชมชื่นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๙) แต่หลักฐานที่พบมีไม่มากนัก หลักฐานมาพบมากขึ้นในสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ – สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๖) โดยขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ จำนวน ๑๕ โครง ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างมากมาย อาทิ ลักษณะของกระดูกและฟันที่ไม่พบรอยโรคหรือรอยผุ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าชุมชนนี้มีอาหารการกินและสุขภาพค่อนข้างดี ของอุทิศที่แสดงถึงความเชื่อเกี่ยวกับความตาย รวมถึงเป็นหลักฐานแสดงการติดต่อกับชุมชนอื่น เช่น ชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดีและชุมชนริมชายฝั่งทะเล ซึ่งช่วยยืนยันว่าบริเวณดังกล่าวมีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว และพัฒนาขึ้นเป็นเมือง เรียกกันว่า “เชลียง” ที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง ก่อนจะย้ายเมืองไปยังบริเวณที่ราบติดเชิงเขาทางเหนือเกิดเป็นเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นในเวลาต่อมา
จะเห็นได้ว่าวัดชมชื่นเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำยม จึงมีการอนุรักษ์หลุมขุดค้นทางโบราณคดีไว้ และเปิดให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจเข้าชมได้ ซึ่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ได้นำเรื่องราวของวัดชมชื่น รวมถึงหลักฐานบางส่วนที่ได้จากการทำงานโบราณคดีมาจัดนิทรรศการพิเศษเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีเกี่ยวกับชุมชนโบราณที่มีมาก่อนการตั้งเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยมากขึ้น โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมและเรียนรู้ได้ตลอดเดือนกันยายน – พฤศจิกายน ๒๕๖๕ นี้
วัดชมชื่น เป็นโบราณสถานตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ใกล้กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง นับเป็น ๑ ใน ๓ โบราณสถานที่ยังปรากฏร่องรอยทางสถาปัตยกรรมที่มีความเก่าแก่กว่าสมัยสุโขทัย ทั้งยังมีการขุดค้นพบหลักฐานบ่งบอกที่มาของผู้คนในเมืองศรีสัชนาลัย เมืองลูกหลวงสำคัญแห่งอาณาจักรสุโขทัยอีกด้วย
จากการขุดค้นทางโบราณคดี เราพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานบริเวณวัดชมชื่นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๙) แต่หลักฐานที่พบมีไม่มากนัก หลักฐานมาพบมากขึ้นในสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ – สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๖) โดยขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ จำนวน ๑๕ โครง ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างมากมาย อาทิ ลักษณะของกระดูกและฟันที่ไม่พบรอยโรคหรือรอยผุ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าชุมชนนี้มีอาหารการกินและสุขภาพค่อนข้างดี ของอุทิศที่แสดงถึงความเชื่อเกี่ยวกับความตาย รวมถึงเป็นหลักฐานแสดงการติดต่อกับชุมชนอื่น เช่น ชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดีและชุมชนริมชายฝั่งทะเล ซึ่งช่วยยืนยันว่าบริเวณดังกล่าวมีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว และพัฒนาขึ้นเป็นเมือง เรียกกันว่า “เชลียง” ที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง ก่อนจะย้ายเมืองไปยังบริเวณที่ราบติดเชิงเขาทางเหนือเกิดเป็นเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นในเวลาต่อมา
จะเห็นได้ว่าวัดชมชื่นเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำยม จึงมีการอนุรักษ์หลุมขุดค้นทางโบราณคดีไว้ และเปิดให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจเข้าชมได้ ซึ่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ได้นำเรื่องราวของวัดชมชื่น รวมถึงหลักฐานบางส่วนที่ได้จากการทำงานโบราณคดีมาจัดนิทรรศการพิเศษเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีเกี่ยวกับชุมชนโบราณที่มีมาก่อนการตั้งเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยมากขึ้น โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมและเรียนรู้ได้ตลอดเดือนกันยายน – พฤศจิกายน ๒๕๖๕ นี้
(จำนวนผู้เข้าชม 2577 ครั้ง)