...

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ โดยเฉพาะผนังที่เขียนเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งมีทั้งหมด ๓๒ ผนัง จะเห็นได้ว่ามีเรื่องราวที่น่าศึกษาค้นคว้า และต้องหาคำตอบอีกมากมาย อาทิเช่น ภาพดั้งเดิมที่เขียนในสมัยรัชกาลที่ ๑ เหลือมากน้อยแค่ไหน มีการเขียนซ่อมในยุคสมัยไหนบ้าง ฯลฯการกำหนดแนวทางในการศึกษาขั้นแรกต้องมองถึงคตินิยมในการเขียนภาพจิตรกรรมฯในสมัยรัชกาลที่๑ ซึ่งสืบต่อรากฐานจากจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ช่างยุคนี้ได้สร้างกฎเกณฑ์ และพัฒนาทางรูปแบบให้สมบูรณ์กว่าสมัยอยุธยาตอนปลาย เช่น การใช้สีที่มากขึ้น รวมทั้งรายละเอียดต่างๆ ที่ทำให้ภาพจิตรกรรมฯยุคนี้มีการพัฒนาตนเองจนมีลักษณะแห่งตน จะเห็นได้จากผนังที่ ๒๕ ตอนพระนางยโสธรานิพพานฯ  ผนังที่ ๒๗ ตอนพระยามารทูลเตือนให้เสด็จสู่ปรินิพพาน ผนังที่ ๒๘ ตอนพระราหุลนิพพาน ภาพทั้ง ๓ ผนังที่ยกมา เป็นภาพที่มีวิธีการเขียนตามแบบคตินิยมสมัยอยุธยาตอนปลายจะเห็นการวางองค์ประกอบของภาพโดยใช้เส้นสินเทาแบบฟันปลาเป็นตัวแบ่งภาพ การใช้สีในการเขียนเป็นลักษณะการไล่น้ำหนักสีเข้มไปหาสีอ่อน การเขียนภาพต้นไม้และโขดหินมีลักษณะแบบประดิษฐ์ และมีการใช้ลายดอกไม้ร่วงประดับพื้นที่ว่าง รวมถึงการพิจารณาลวดลายต่างๆ ที่มีลักษณะแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณาภาพทั้งหมด ๓๒ ผนังแล้ว ภาพทั้ง ๓ ผนัง ที่กล่าวมาจึงเข้าหลักเกณฑ์ เพื่อจะได้นำไปศึกษาเปรียบเทียบกับภาพกลุ่มอื่นๆต่อไป
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:

(จำนวนผู้เข้าชม 1147 ครั้ง)


Messenger