...

กรมศิลปากรชวนเปิดประสบการณ์ใหม่ในการเที่ยวโบราณสถาน ด้วยเทคโนโลยี AR และ VR
          วันศุกร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๖.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการแถลงข่าว ผลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม AR Smart Heritage กรมศิลปากร โดยมี นางสรัลพัชร ประโมทะกะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สันติ เล็กสุขุม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร และสื่อมวลชน ร่วมงาน ณ วัดราชบูรณะ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการข้อมูลความรู้ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมสู่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัจจุบันได้นำเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) มาใช้ในการนำเสนอข้อมูลมรดกวัฒนธรรม เพื่อสร้างความน่าสนใจ โดย AR Smart Heritage กรมศิลปากร นี้ จะเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับผู้เที่ยวชมโบราณสถาน ให้สามารถเห็นรูปแบบสันนิษฐานที่ปรากฏซ้อนทับลงบนโบราณสถานจริงโดยผ่านเทคโนโลยี AR หรือ Augmented Reality ซึ่งผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สันติ เล็กสุขุม เพื่อให้ผู้เข้าชมได้จินตนาการเห็นถึงความรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ของเมืองมรดกโลก ณ โบราณสถานภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำนวน ๑๑ แห่ง รวมถึงวัดราชบูรณะ และอุทยานประวัติศาสตร์ที่ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จำนวน ๑๐ แห่ง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จำนวน ๙ แห่ง และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จำนวน ๖ แห่ง













          นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังได้พัฒนาระบบนำชมโบราณสถานที่เป็นแหล่งเข้าถึงยากและไม่เปิดให้เข้าชม เนื่องจากการอนุรักษ์ ถือเป็น Unseen Heritage ด้วยระบบ Virtual Reality ผ่านกล้อง VR จำนวน ๒ แห่ง คือ กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และอุโมงค์วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งจะช่วยให้สามารถรับรู้บรรยากาศเสมือนได้เข้าชมจริง นับเป็นก้าวสำคัญของกรมศิลปากร ในการให้บริการชมโบราณสถานรูปแบบใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงง่าย ส่งเสริม เพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้แหล่งโบราณสถาน กระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความสนใจในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น








(จำนวนผู้เข้าชม 1309 ครั้ง)


Messenger