วิสาขบูชาบรมราชาภิเษกรัชกาลที่๔
#วิสาขบูชาบรมราชาภิเษกรัชกาลที่๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระบรมเชษฐาธิราช ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ๒๓๙๔ ครั้นในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกันโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ปรากฏความในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) ดังนี้
.
“...เมื่อ ณ วันศุกร เดือน ๖ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีกุนตรีศก โหรมีชื่อคำนวณพระฤกษ์มหามงคลอันอุดม ตั้งบายศรีแก้ว บายศรีทอง บายศรีเงิน บายศรีตอง ขุนสารประเสริฐได้จารึกพระนามลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏทองเก้าน้ำ พระสุพรรณบัฏกว้าง ๗ นิ้ว ยาว ๑๔ นิ้ว เมื่อพระมหาราชครูจุณเจิมแล้วพันด้วยไหมเบญจพรรณใส่ในพระกล่องทองคำจำหลักลายกุดั่น แล้วประดิษฐานไว้ในหีบถมทองคำ สวมถุงเข้มขาบประทับตราประจำครั่ง เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ในพานทองคำ ๒ ชั้นสำรับใหญ่ ปิดคลุมหักทองขวาง ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย พร้อมกันสมโภชเวียนเทียน พราหมณ์ก็เป่าสังข์ทักขิณาวัฏ สังข์อุตราวัฏ ประโคมดุริยางคดนตรี แตร สังข์ พิณพาทย์ ฆ้องกลอง สมโภชพระสุพรรณบัฏเสร็จแล้ว จึงกำหนดพระฤกษ์ จะได้กระทำการพระราชพิธีบรมราชาภิเศก ณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันวิสาขบุรณมีอุดมมหามงคลฤกษ์สมควรยิ่งนัก...”
.
ครั้นถึงวันขึ้นขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษก มีความพรรณนาไว้ในพระราชพงศาวดารฯ ว่า
.
“...ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาเช้าเป็นมหามงคลฤกษ์อันอุดม พระสงฆ์ราชาคณะเข้าไปพร้อมประจำที่อยู่ทุกแห่ง แล้วกรมหมื่นนุชิตชิโนรสก็ดับเทียนไชยเสียก่อนยังไม่ทันเสด็จ ครั้นเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปเห็นเทียนไชยดับจึงดำรัสถาม ข้าราชการทั้งปวงกราบทูลว่า กรมหมื่นนุชิตชิโนรสทรงดับ ดำรัสว่าไม่ถูกยังไม่แล้วการ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดเทียนนมัสการแล้ว ครั้นเวลานาฬิกา ๑ กับ ๙ บาท ได้วิสาขนักษัตรฤกษ์พระมหาไชยมงคลบรมราชาภิเศกต้องอย่างบุราณราชประเพณีแต่ก่อน เจ้าพนักงานจึงเชิญเสด็จสรงพระกระยาสนาน ชาวภูษามาลาถวายพระภูษาขาวขลิบทอง ราชบัณฑิตเชิญพระไชย พระครูพราหมณ์เชิญพระพิฆเนศวร์ แล้วโปรยเข้าตอกเป่าสังข์ทักขิณาวัฏ นำเสด็จไปสู่พระมหามณฑปกระยาสนาน ขึ้นสถิตเหนืออุทุมพรราชอาสน์บ่ายพระพักตร์สู่ทิศอิสาณ จึงชาวภูษามาลาถวายเครื่องมุรธาภิเศกแล้วไขสหัสธารา
ครั้นเสด็จสรงสหัสธาราน้ำปัญจมหานทีแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ที่มีพระชนมายุ ฝ่ายบรรพชิตคฤหัสถ์เข้าไปถวายน้ำพระปทุมนิมิตร กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์พระบรมวงศผู้ใหญ่ถวายน้ำพระเต้าแก้ว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าฤกษ์ถวายน้ำพระเต้าเนาวโลหะ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ถวายน้ำพระเต้าทอง พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมขุนรามอิศเรศรถวายน้ำพระเต้าเงิน พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนเดชอดิศรถวายน้ำพระเต้านาก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนพิพิธภูเบนทร์ถวายน้ำพระเต้าสัมฤทธิ์ แล้วพระบรมวงศ์เสนาบดีผู้ใหญ่ เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหมถวายน้ำพระเต้ามังสีเครื่องทอง พระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษาถวายน้ำพระเต้ามังสีเครื่องเงิน สรงน้ำพระเต้าประทุมนิมิตรเสร็จแล้ว จึงหลวงศรีสิทธิไชยหมอเฒ่าถวายน้ำพระสังข์ทักขิณาวัฏ ๑ พระมหาราชครูพิธีถวายน้ำพระเต้าเบญจครรภ ๑ พระครูอัษฎาจารย์ถวายน้ำพระมหาสังข์ทอง ๑ หลวงจักรปาณีถวายน้ำพระมหาสังข์เงิน ๑ หลวงราชมุนีถวายน้ำพระมหาสังข์นาก ๑ หลวงศิวาจารย์ถวายน้ำพระมหาสังข์งาจำเริญช้างเผือก ๑ หลวงเทพาจารย์ถวายน้ำพระครอบ ๑ ทรงรับน้ำด้วยพระหัตถ์แล้วพราหมณ์ก็เป่าพระมหาสังข์ทักขิณาวัฏ ๒ องค์ อุตราวัฏ ๖ องค์ เจ้าพนักงานประโคมดุริยางคดนตรีมะโหระทึกแตรสังข์บัณเฑาะว์ พระสงฆ์สวดไชยมงคล
ครั้นสรงมุรธาภิเศกแล้ว พระสงฆ์เข้าไปในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานทั้ง ๕๐ รูป ชาวพระภูษามาลาถวายพระภูษาทรงผลัดพื้นเหลืองเขียนทอง ทรงฉลองพระองค์คาดริ้วทอง เสด็จกลับมาสถิตเหนืออัฏฐังโสทุมพรราชาอาสน์ มีตั่งอัฐทิศล้อม มีราชบัณฑิตประจำทิศละคน ผันพระพักตร์ไปสู่บูรพทิศเป็นปฐม จึงราชบัณฑิตกล่าวคำอันเป็นมงคลโดยมคธภาษา ถวายมอบแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา ทรงรับด้วยพระเต้าเบญจครรภกระทำด้วยโมราประดับเพ็ชรประดับทับทิม มีราคาเป็นอันมาก พราหมณ์ถวายน้ำพระมหาสังข์ทักขิณาวัฏน้ำกลศ ทรงรับมาสรงพระพักตร์แล้วเสวยหน่อยหนึ่ง แล้วผันพระองค์ไปตามทิศอาคเนย์โดยทักขิณาวัฏ ทรงรับน้ำพระพุทธปริตรน้ำสังข์ทั้ง ๘ ทิศเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินมาขึ้นบนพระที่นั่งภัทรบิฐ ผันพระพักตร์สู่อิสาณทิศ พระครูพราหมณ์ก็อ่านอิศวรเวทสรรเสริญเขาไกรลาศ แล้วกราบบังคมทูลถวายสิริราชสมบัติ อันพระมหากษัตริย์จะครอบครองสืบต่อไป เจ้าพนักงานกราบบังคมทูลถวายพระมหาบวรเศวตฉัตร เป็นที่เฉลิมสิริราชสมบัติสำหรับพระบรมกษัตริย์สืบมา แล้วพระมหาราชครูถวายพระสุพรรณบัฏ พระมหาพิไชยมงกุฎ พระมหาสังวาล ทรงรับมาสวมสอดทรงในพระองค์ แล้วพระมหาราชครูถวายธารพระกรกับพระแสงขรรค์ ทรงรับธารพระกรพาดเบื้องขวา พระแสงพาดเบื้องซ้าย แล้วทรงรับพระแสงอัษฎาวุธเครื่องราชกกุธภัณฑ์ราชูปโภค ประกอบด้วยวิษณุเวทอิศวรมนต์ ทั้งนี้ทรงรับแล้ว แต่ฉลองพระบาทพระมหาราชครูมาสอดทรงถวายเสร็จแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งแก่พระมหาราชครูผู้ใหญ่ ว่า ผลพฤกษ์ชลธารและสิ่งของในแผ่นดินเขตต์พระนครซึ่งหามีผู้หวงห้ามไม่นั้น ตามแต่สมณพราหมณาจารย์อาณาประชาราษฎรจะปรารถนาเถิด จึ่งพระมหาราชครูผู้ใหญ่รับพระบรมราชโองการเป็นประพฤติเหตุก่อนว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทใส่เกล้าใส่กระหม่อม ดังนี้ แล้วทรงโปรยดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกแล้ว พราหมณ์เป่าพระมหาสังข์ ประโคมดุริยดนตรีมะโหระทึกกึกก้อง หยุดประโคมแล้วก็เสด็จเข้าไปในพระมหามนเทียร ทรงถวายสำรับคาวหวานแก่พระสงฆ์ราชาคณะ มีกรมหมื่นนุชิตชิโนรสเป็นประธาน รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว ทรงถวายเครื่องสมณบริขารไทยธรรมทั้งปวง พระสงฆ์ราชาคณะรับแล้วก็ถวายอติเรกสัพพพุทธา แล้วถวายพระพรลาไป จึงพระครูพระราชพิธีขึ้นไปบนพระมหามนเทียร ประพรมน้ำกลศสังข์รอบพระมหามนเทียรทั้งข้างในข้างนอก อวยชัยถวายพระพร
พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระแสงขรรค์ประดับเพ็ชร สอดฉลองพระบาท เสด็จออกณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ราชาคณะ ๓๐ รูปเสร็จแล้ว พระสงฆ์จึงถวายพระพรลาไป เสด็จเข้าในพระวิสูตรทรงผลัดพระภูษาเขียนทองต่างสี ทรงฉลองพระองค์พระกรน้อยชั้นในฉลองพระองค์ครุยชั้นนอก ทรงพระมหาชฎาเดินหนเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนทุกพนักงาน แต่งตัวเต็มยศอย่างเสด็จออกใหญ่ ตั้งเครื่องยศตามตำแหน่งผู้ใหญ่ผู้น้อยทุกนาย ฝ่ายในจัดทหารอย่างยุโรปขึ้นแถวหนึ่ง ๒๐๐ คน ฝ่ายนอกประตูพิมานไชยศรี จัดทหารไทย ๑๐ หมู่ ๑,๐๐๐ คน แต่งตัวถืออาวุธต่างๆ เป็นเหล่าๆ ยืน ๒ ฟากถนน ผูกช้างต้นม้าต้นยืนในปรำประจำที่เกย คือพระยาไชยานุภาพ ผูกเรือพระที่นั่งศรีสมรรถไชย ๑ ไกรสรมุข ๑ มีบุษบกฝีพายแต่งตัวพร้อม ประทับอยู่หน้าพระตำหนักน้ำตามราชประเพณีแต่ก่อน
บรรดาแขกเมืองต่างประเทศ เขมร ลาวลื้อ ลาวเมืองหลวงพระบาง เมืองน่าน อันเป็นเมืองมาอ่อนน้อม ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งเข้ามาค้างอยู่ณกรุงเทพมหานคร กับพวกอังกฤษ อเมริกัน วิลันดา โปรตุเกศ แขกเทศมะลายู ซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ณกรุงเทพมหานคร แต่ก่อนมิได้มีธรรมเนียมที่จะเข้าประชุมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในเวลานี้ โดยทรงพระมหากรุณาเมตตาแก่คนต่างประเทศ ก็โปรดฯ ให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยจะได้เชยชมพระบรมสิริวิลาศเห็นวิเศษ ในการพระบรมราชาภิเศก ชาววังไขพระวิสูตรแล้ว เสด็จพระราชดำเนินออกมาขึ้นบนพระที่นั่งใต้พระมหาบวรเศวตฉัตร ๙ ชั้น เหนือพระบรมราชรัตนาภรณ์พิจิตรสุพรรณบัลลังก์ จึงประโคมแตรสังข์ มโหรี พิณพาทย์ กลองมะโหระทึกกึกก้อง กลองชนะ ฆ้องไชย หลวงราชมนูชูพุ่มดอกไม้ทอง จางวางมหาดเล็กตีกรับเป็นสัญญา ให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบถวายบังคมพร้อมกัน...”
.
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายสรรพสิ่งซึ่งเป็นเครื่องประดับพระบรมราชอิสริยยศและราชสมบัติทั้งปวง แล้วจึงมีพระบรมราชโองการกับเสนาบดีผู้ใหญ่ พร้อมทั้งทรงปราศรัยด้วยแขกเมืองต่างประเทศ นอกจากนี้ พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ผู้น้อย ข้าราชการฝ่ายในได้ตั้งดอกไม้ธูปเทียนถวายตัว โดยมีท้าววรจันทร์กราบบังคมทูลถวายสิบสองพระกำนัลเฉพาะพระพักตร์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินยังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเพื่อประกอบการเฉลิมพระราชมณเฑียรตามราชประเพณี เมื่อเสร็จจากการเฉลิมพระราชมณเฑียรแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วจึงเสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ที่นั้น
ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเฉลิมพระราชมณเฑียรในวันที่พฤหัสบดี ๑๕ พฤษภาคม ๒๓๙๔ แล้ว ต่อมาในวันศุกร์ที่ ๑๖ และวันเสาร์ ๑๗ พฤษภาคม ๒๓๙๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และต่อมาในวันอังคารที่ ๒๐ และวันพุธที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๓๙๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยในวันแรกเป็นการเลียบพระนครทางสถลมารค และวันต่อมาเป็นการเลียบพระนครทางชลมารคเป็นเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
.
ภาพ : พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระบรมเชษฐาธิราช ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ๒๓๙๔ ครั้นในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกันโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ปรากฏความในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) ดังนี้
.
“...เมื่อ ณ วันศุกร เดือน ๖ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีกุนตรีศก โหรมีชื่อคำนวณพระฤกษ์มหามงคลอันอุดม ตั้งบายศรีแก้ว บายศรีทอง บายศรีเงิน บายศรีตอง ขุนสารประเสริฐได้จารึกพระนามลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏทองเก้าน้ำ พระสุพรรณบัฏกว้าง ๗ นิ้ว ยาว ๑๔ นิ้ว เมื่อพระมหาราชครูจุณเจิมแล้วพันด้วยไหมเบญจพรรณใส่ในพระกล่องทองคำจำหลักลายกุดั่น แล้วประดิษฐานไว้ในหีบถมทองคำ สวมถุงเข้มขาบประทับตราประจำครั่ง เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ในพานทองคำ ๒ ชั้นสำรับใหญ่ ปิดคลุมหักทองขวาง ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย พร้อมกันสมโภชเวียนเทียน พราหมณ์ก็เป่าสังข์ทักขิณาวัฏ สังข์อุตราวัฏ ประโคมดุริยางคดนตรี แตร สังข์ พิณพาทย์ ฆ้องกลอง สมโภชพระสุพรรณบัฏเสร็จแล้ว จึงกำหนดพระฤกษ์ จะได้กระทำการพระราชพิธีบรมราชาภิเศก ณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันวิสาขบุรณมีอุดมมหามงคลฤกษ์สมควรยิ่งนัก...”
.
ครั้นถึงวันขึ้นขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษก มีความพรรณนาไว้ในพระราชพงศาวดารฯ ว่า
.
“...ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาเช้าเป็นมหามงคลฤกษ์อันอุดม พระสงฆ์ราชาคณะเข้าไปพร้อมประจำที่อยู่ทุกแห่ง แล้วกรมหมื่นนุชิตชิโนรสก็ดับเทียนไชยเสียก่อนยังไม่ทันเสด็จ ครั้นเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปเห็นเทียนไชยดับจึงดำรัสถาม ข้าราชการทั้งปวงกราบทูลว่า กรมหมื่นนุชิตชิโนรสทรงดับ ดำรัสว่าไม่ถูกยังไม่แล้วการ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดเทียนนมัสการแล้ว ครั้นเวลานาฬิกา ๑ กับ ๙ บาท ได้วิสาขนักษัตรฤกษ์พระมหาไชยมงคลบรมราชาภิเศกต้องอย่างบุราณราชประเพณีแต่ก่อน เจ้าพนักงานจึงเชิญเสด็จสรงพระกระยาสนาน ชาวภูษามาลาถวายพระภูษาขาวขลิบทอง ราชบัณฑิตเชิญพระไชย พระครูพราหมณ์เชิญพระพิฆเนศวร์ แล้วโปรยเข้าตอกเป่าสังข์ทักขิณาวัฏ นำเสด็จไปสู่พระมหามณฑปกระยาสนาน ขึ้นสถิตเหนืออุทุมพรราชอาสน์บ่ายพระพักตร์สู่ทิศอิสาณ จึงชาวภูษามาลาถวายเครื่องมุรธาภิเศกแล้วไขสหัสธารา
ครั้นเสด็จสรงสหัสธาราน้ำปัญจมหานทีแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ที่มีพระชนมายุ ฝ่ายบรรพชิตคฤหัสถ์เข้าไปถวายน้ำพระปทุมนิมิตร กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์พระบรมวงศผู้ใหญ่ถวายน้ำพระเต้าแก้ว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าฤกษ์ถวายน้ำพระเต้าเนาวโลหะ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ถวายน้ำพระเต้าทอง พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมขุนรามอิศเรศรถวายน้ำพระเต้าเงิน พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนเดชอดิศรถวายน้ำพระเต้านาก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนพิพิธภูเบนทร์ถวายน้ำพระเต้าสัมฤทธิ์ แล้วพระบรมวงศ์เสนาบดีผู้ใหญ่ เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหมถวายน้ำพระเต้ามังสีเครื่องทอง พระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษาถวายน้ำพระเต้ามังสีเครื่องเงิน สรงน้ำพระเต้าประทุมนิมิตรเสร็จแล้ว จึงหลวงศรีสิทธิไชยหมอเฒ่าถวายน้ำพระสังข์ทักขิณาวัฏ ๑ พระมหาราชครูพิธีถวายน้ำพระเต้าเบญจครรภ ๑ พระครูอัษฎาจารย์ถวายน้ำพระมหาสังข์ทอง ๑ หลวงจักรปาณีถวายน้ำพระมหาสังข์เงิน ๑ หลวงราชมุนีถวายน้ำพระมหาสังข์นาก ๑ หลวงศิวาจารย์ถวายน้ำพระมหาสังข์งาจำเริญช้างเผือก ๑ หลวงเทพาจารย์ถวายน้ำพระครอบ ๑ ทรงรับน้ำด้วยพระหัตถ์แล้วพราหมณ์ก็เป่าพระมหาสังข์ทักขิณาวัฏ ๒ องค์ อุตราวัฏ ๖ องค์ เจ้าพนักงานประโคมดุริยางคดนตรีมะโหระทึกแตรสังข์บัณเฑาะว์ พระสงฆ์สวดไชยมงคล
ครั้นสรงมุรธาภิเศกแล้ว พระสงฆ์เข้าไปในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานทั้ง ๕๐ รูป ชาวพระภูษามาลาถวายพระภูษาทรงผลัดพื้นเหลืองเขียนทอง ทรงฉลองพระองค์คาดริ้วทอง เสด็จกลับมาสถิตเหนืออัฏฐังโสทุมพรราชาอาสน์ มีตั่งอัฐทิศล้อม มีราชบัณฑิตประจำทิศละคน ผันพระพักตร์ไปสู่บูรพทิศเป็นปฐม จึงราชบัณฑิตกล่าวคำอันเป็นมงคลโดยมคธภาษา ถวายมอบแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา ทรงรับด้วยพระเต้าเบญจครรภกระทำด้วยโมราประดับเพ็ชรประดับทับทิม มีราคาเป็นอันมาก พราหมณ์ถวายน้ำพระมหาสังข์ทักขิณาวัฏน้ำกลศ ทรงรับมาสรงพระพักตร์แล้วเสวยหน่อยหนึ่ง แล้วผันพระองค์ไปตามทิศอาคเนย์โดยทักขิณาวัฏ ทรงรับน้ำพระพุทธปริตรน้ำสังข์ทั้ง ๘ ทิศเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินมาขึ้นบนพระที่นั่งภัทรบิฐ ผันพระพักตร์สู่อิสาณทิศ พระครูพราหมณ์ก็อ่านอิศวรเวทสรรเสริญเขาไกรลาศ แล้วกราบบังคมทูลถวายสิริราชสมบัติ อันพระมหากษัตริย์จะครอบครองสืบต่อไป เจ้าพนักงานกราบบังคมทูลถวายพระมหาบวรเศวตฉัตร เป็นที่เฉลิมสิริราชสมบัติสำหรับพระบรมกษัตริย์สืบมา แล้วพระมหาราชครูถวายพระสุพรรณบัฏ พระมหาพิไชยมงกุฎ พระมหาสังวาล ทรงรับมาสวมสอดทรงในพระองค์ แล้วพระมหาราชครูถวายธารพระกรกับพระแสงขรรค์ ทรงรับธารพระกรพาดเบื้องขวา พระแสงพาดเบื้องซ้าย แล้วทรงรับพระแสงอัษฎาวุธเครื่องราชกกุธภัณฑ์ราชูปโภค ประกอบด้วยวิษณุเวทอิศวรมนต์ ทั้งนี้ทรงรับแล้ว แต่ฉลองพระบาทพระมหาราชครูมาสอดทรงถวายเสร็จแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งแก่พระมหาราชครูผู้ใหญ่ ว่า ผลพฤกษ์ชลธารและสิ่งของในแผ่นดินเขตต์พระนครซึ่งหามีผู้หวงห้ามไม่นั้น ตามแต่สมณพราหมณาจารย์อาณาประชาราษฎรจะปรารถนาเถิด จึ่งพระมหาราชครูผู้ใหญ่รับพระบรมราชโองการเป็นประพฤติเหตุก่อนว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทใส่เกล้าใส่กระหม่อม ดังนี้ แล้วทรงโปรยดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกแล้ว พราหมณ์เป่าพระมหาสังข์ ประโคมดุริยดนตรีมะโหระทึกกึกก้อง หยุดประโคมแล้วก็เสด็จเข้าไปในพระมหามนเทียร ทรงถวายสำรับคาวหวานแก่พระสงฆ์ราชาคณะ มีกรมหมื่นนุชิตชิโนรสเป็นประธาน รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว ทรงถวายเครื่องสมณบริขารไทยธรรมทั้งปวง พระสงฆ์ราชาคณะรับแล้วก็ถวายอติเรกสัพพพุทธา แล้วถวายพระพรลาไป จึงพระครูพระราชพิธีขึ้นไปบนพระมหามนเทียร ประพรมน้ำกลศสังข์รอบพระมหามนเทียรทั้งข้างในข้างนอก อวยชัยถวายพระพร
พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระแสงขรรค์ประดับเพ็ชร สอดฉลองพระบาท เสด็จออกณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์ราชาคณะ ๓๐ รูปเสร็จแล้ว พระสงฆ์จึงถวายพระพรลาไป เสด็จเข้าในพระวิสูตรทรงผลัดพระภูษาเขียนทองต่างสี ทรงฉลองพระองค์พระกรน้อยชั้นในฉลองพระองค์ครุยชั้นนอก ทรงพระมหาชฎาเดินหนเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนทุกพนักงาน แต่งตัวเต็มยศอย่างเสด็จออกใหญ่ ตั้งเครื่องยศตามตำแหน่งผู้ใหญ่ผู้น้อยทุกนาย ฝ่ายในจัดทหารอย่างยุโรปขึ้นแถวหนึ่ง ๒๐๐ คน ฝ่ายนอกประตูพิมานไชยศรี จัดทหารไทย ๑๐ หมู่ ๑,๐๐๐ คน แต่งตัวถืออาวุธต่างๆ เป็นเหล่าๆ ยืน ๒ ฟากถนน ผูกช้างต้นม้าต้นยืนในปรำประจำที่เกย คือพระยาไชยานุภาพ ผูกเรือพระที่นั่งศรีสมรรถไชย ๑ ไกรสรมุข ๑ มีบุษบกฝีพายแต่งตัวพร้อม ประทับอยู่หน้าพระตำหนักน้ำตามราชประเพณีแต่ก่อน
บรรดาแขกเมืองต่างประเทศ เขมร ลาวลื้อ ลาวเมืองหลวงพระบาง เมืองน่าน อันเป็นเมืองมาอ่อนน้อม ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งเข้ามาค้างอยู่ณกรุงเทพมหานคร กับพวกอังกฤษ อเมริกัน วิลันดา โปรตุเกศ แขกเทศมะลายู ซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ณกรุงเทพมหานคร แต่ก่อนมิได้มีธรรมเนียมที่จะเข้าประชุมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในเวลานี้ โดยทรงพระมหากรุณาเมตตาแก่คนต่างประเทศ ก็โปรดฯ ให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยจะได้เชยชมพระบรมสิริวิลาศเห็นวิเศษ ในการพระบรมราชาภิเศก ชาววังไขพระวิสูตรแล้ว เสด็จพระราชดำเนินออกมาขึ้นบนพระที่นั่งใต้พระมหาบวรเศวตฉัตร ๙ ชั้น เหนือพระบรมราชรัตนาภรณ์พิจิตรสุพรรณบัลลังก์ จึงประโคมแตรสังข์ มโหรี พิณพาทย์ กลองมะโหระทึกกึกก้อง กลองชนะ ฆ้องไชย หลวงราชมนูชูพุ่มดอกไม้ทอง จางวางมหาดเล็กตีกรับเป็นสัญญา ให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบถวายบังคมพร้อมกัน...”
.
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายสรรพสิ่งซึ่งเป็นเครื่องประดับพระบรมราชอิสริยยศและราชสมบัติทั้งปวง แล้วจึงมีพระบรมราชโองการกับเสนาบดีผู้ใหญ่ พร้อมทั้งทรงปราศรัยด้วยแขกเมืองต่างประเทศ นอกจากนี้ พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ผู้น้อย ข้าราชการฝ่ายในได้ตั้งดอกไม้ธูปเทียนถวายตัว โดยมีท้าววรจันทร์กราบบังคมทูลถวายสิบสองพระกำนัลเฉพาะพระพักตร์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินยังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเพื่อประกอบการเฉลิมพระราชมณเฑียรตามราชประเพณี เมื่อเสร็จจากการเฉลิมพระราชมณเฑียรแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วจึงเสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ที่นั้น
ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเฉลิมพระราชมณเฑียรในวันที่พฤหัสบดี ๑๕ พฤษภาคม ๒๓๙๔ แล้ว ต่อมาในวันศุกร์ที่ ๑๖ และวันเสาร์ ๑๗ พฤษภาคม ๒๓๙๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และต่อมาในวันอังคารที่ ๒๐ และวันพุธที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๓๙๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยในวันแรกเป็นการเลียบพระนครทางสถลมารค และวันต่อมาเป็นการเลียบพระนครทางชลมารคเป็นเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
.
ภาพ : พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔
(จำนวนผู้เข้าชม 1109 ครั้ง)