...

เรืออสุรวายุภักษ์ และ เรืออสุรปักษี

          ชื่อเรือสองลำนี้มาจากคำภาษาสันสกฤต มีความหมายดังนี้ อสุรวายุภักษ์ แปลว่า “อสูรผู้มีลมเป็นอาหาร” อสุรปักษี แปลว่า “อสูรผู้เป็นนก” หัวเรือของเรือทั้งสองลำมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือมีร่างกายเป็นนก มีหัวหรือหน้าเป็นยักษ์

          ชื่อเรือสองลำนี้มาจากคำภาษาสันสกฤต มีความหมายดังนี้ อสุรวายุภักษ์ แปลว่า “อสูรผู้มีลมเป็นอาหาร” อสุรปักษี แปลว่า “อสูรผู้เป็นนก” หัวเรือของเรือทั้งสองลำมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือมีร่างกายเป็นนก มีหัวหรือหน้าเป็นยักษ์ (ไทยเรามักเรียก อสูร ว่า ยักษ์) ลงรักปิดทองประดับกระจก รูปอสุรวายุภักษ์ ใส่เสื้อสีม่วง มือและเท้าเป็นสีคราม ส่วนรูปอสุรปักษี ใส่เสื้อด้านหน้าสีม่วง ด้านหลังสีเขียว มือและเท้าเป็นสีเขียว

          เรือทั้งสองลำนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394 - 2411) เรืออสุรปักษี ใช้ชื่อว่า อสุรปักษีสมุทร หรือ อสุรปักษา บูรณะในพุทธศักราช 2508 ดำเนินการโดยความร่วมมือกัน

ระหว่างกองทัพเรือกับกรมศิลปากร    

          เรือแต่ละลำมีความยาว 31 เมตร กว้าง 2.03 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 62 เซนติเมตร มีกำลังพลประกอบด้วยฝีพาย 40 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน และคนตีกลองชนะ 10 คน




 

ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges

(จำนวนผู้เข้าชม 51 ครั้ง)