...

เรือเอกชัยเหินหาว และ เรือเอกชัยหลาวทอง

          เอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทอง เป็นชื่อเรือ 2 ลำคู่กัน ลักษณะใกล้เคียงกันคือหัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (อ่านเห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกรแต่มีหัวเป็นงูหรือนาค อย่างไรก็ตามเรือ 2 ลำนี้มีรูปลักษณ์ของหัวเรือที่ต่างกันอยู่บ้างเป็นที่สังเกตได้

          เอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทอง เป็นชื่อเรือ 2 ลำคู่กัน ลักษณะใกล้เคียงกันคือหัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงงอนขึ้นไป ลงรักปิดทองเขียนลายรดน้ำรูปเหรา (อ่าน เห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนาน ลักษณะคล้ายมังกรแต่มีหัวเป็นงูหรือนาค อย่างไรก็ตามเรือ 2 ลำนี้มีรูปลักษณ์ของหัวเรือที่ต่างกันอยู่บ้างเป็นที่สังเกตได้ เอกชัยเหินหาว แปลว่า “ชัยชนะสูงสุดทะยานสู่ท้องฟ้า” เอกชัยหลาวทอง แปลว่า “เรือทองที่บรรจงสร้าง (โดยการหลาวหรือเหลา) เพื่อชัยชนะ” หรือแปลว่า “หลาว (อาวุธ) ทองคำที่นำชัยชนะ” ชื่อเรือ 2 ลำนี้ปรากฏอยู่ในสมุดภาพเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) แห่งกรุงศรีอยุธยา

          เรือเอกชัยเหินหาว และเอกชัยหลาวทองตามรูปลักษณ์ปัจจุบัน สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้งสองลำนี้มาก ดังนั้นในพุทธศักราช 2508 กองทัพเรือและกรมศิลปากรร่วมกันบูรณะเรือสองลำนี้ใหม่โดยใช้หัวเรือเดิมมาประกอบ

          เรือ 2 ลำถือว่าเป็นเรือคู่ชัก หมายความว่าใช้เป็นเรือชักลากเรือพระที่นั่ง เช่น ชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เมื่อน้ำเชี่ยวหรือต้องการให้แล่นเร็วขึ้น และเป็นเรือคู่นำหน้าเรือพระที่นั่ง ต่อมาใช้เป็นเรือสำหรับให้ข้าราชการชั้นสูงนั่ง เรือแต่ละลำมีความยาว 27.50 เมตร กว้าง 1.97 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 60 เซนติเมตร กินน้ำลึก 72 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.7 ตัน แต่ละลำมีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 38 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน





ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges

(จำนวนผู้เข้าชม 36 ครั้ง)