...

หีบพระธรรม ลายรดน้ำ

    อยุธยา ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ หรือประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ ปีมาแล้ว

    ไม้ ลงรักปิดทอง

    ขนาด สูง ๕๔ เซนติเมตร กว้าง ๔๘ เซนติเมตร ยาว ๗๘ เซนติเมตร

    หีบพระธรรม ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เขียนลายรดน้ำทั้งสี่ด้านตลอดทั้งใบ ลายในช่องกระจกของตัวหีบทั้ง ๔ ด้านเขียนพื้นหลังด้วยลายพันธุ์พฤกษาและโขดหินมีสัตว์ต่างๆ แสดงป่าหิมพานต์ ลายในช่องกระจกเล็กๆ ๑๒ ช่องของฝาหีบ มีรูปสัตว์ประจำปีนักษัตรรูปละช่องเรียงกันไป ดังนี้ ด้านหน้า ๔ ช่อง ได้แก่ ชวด (หนู) ฉลู (โค/วัว) ขาล (เสือ) เถาะ (กระต่าย) ด้านข้างซ้าย ๒ ช่อง ได้แก่ มะโรง (งูใหญ่) มะเส็ง (งูเล็ก) ด้านหลัง ๔ ช่อง ได้แก่ มะเมีย (ม้า) มะแม (แพะ) วอก (ลิง) ระกา (ไก่) ด้านข้างขวา ๒ ช่อง ได้แก่  จอ (สุนัข/หมา) กุน (หมู)

ธรรมเนียมการใช้ปีนักษัตร สัตว์ทั้ง ๑๒ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำแต่ละปี  มาจากจีนโบราณ และเป็นที่รู้จักในพื้นที่สุวรรณภูมิ แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ในศิลาจารึกเขมร ปรากฏหลักฐานการใช้ปีนักษัตรมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ (๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว)  

    ปัจจุบันหีบพระธรรม ลายรดน้ำ จัดแสดงในห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยุธยา  อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 

 

ค้นคว้าโดย นางสาวเณศรา ประสพถิ่น

นักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

(จำนวนผู้เข้าชม 1181 ครั้ง)


Messenger