เครื่องมือช่วยการเข้าถึง
keyboard navigation
block animations
color contrast
เฉดสีเทา
สีปกติ
สีกลับกัน
text size
เพิ่มขนาดตัวอักษร
ลดขนาดตัวอักษร
readable
text
highlighting content
underline
links
underline
headers
images
titles
zoom in
big white
cursor
big black
cursor
zoom
screen
accessibility statement
report an accessibility problem
ล้างค่า
Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
คลังวีดิทัศน์
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ระบบสืบค้น/ขอสำเนาเอกสารจดหมายเหตุ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
ดาว์นโหลดแบบฟอร์ม
ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศหอสมุดแห่งชาติ
ระบบสืบค้นข้อมูลห้องสมุดดนตรี
ระบบสืบค้นเอกสารโบราณ จารึก ตู้พระธรรม
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
คู่มือประชาชน
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา
การวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ความรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาถือได้ว่าเป็นที่สนใจและถูกจับตานำมาต่อยอดโดยนักวิชาการอย่างกว้างขวาง จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ “พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา” ซึ่งเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ตีความจากพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ และบันทึกชาวต่างชาติ ข้อมูลดังกล่าวเรียบเรียงโดย นายประทีป เพ็งตะโก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมศิลปากร และถูกตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ “สถาปัตยกรรมในสถาบันพระมหากษัตริย์” โดยสรุป พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยามีพัฒนาการการใช้พื้นที่เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะแรก ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 รวม 98 ปี โดยเป็นช่วงที่พระราชวังหลวงตั้งอยู่บริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ ช่วงแรกพระราชวังหลวงน่าจะประกอบด้วยพระที่นั่งอย่างน้อย 5 องค์ ที่ล้วนสร้างด้วยไม้ คือ - พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท - พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท - พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท และ - พระที่นั่งตรีมุข
2. ระยะที่สอง ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลก ถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ รวม 182 ปี >> สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเขตพระราชวังเดิมให้เป็นเขตพุทธาวาส และสร้างพระราชวังใหม่ชิดไปทางด้านเหนือริมแม่น้ำลพบุรี ในช่วงนี้จะประกอบไปด้วยพระที่นั่งองค์สำคัญได้แก่ - พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท - พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท - พระที่นั่งวิหารสมเด็จ ทั้งนี้ ส่วนพระราชวังมีกำแพงกั้นกับวัดพระศรีสรรเพชญ์
3. ระยะที่สาม ตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ รวม 137 ปี เป็นช่วงที่บ้านเมืองรุ่งเรืองอย่างมาก มีการขยายพระราชวังออกไปทุกทิศทุกทาง ด้านเหนือจรดกำแพงเมือง ด้านตะวันออกจรดท้ายวัดธรรมิกราช ด้านใต้จรดวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังมีกำแพงสูง 4 เมตร มีป้อม 8 ป้อม ประตูบก 20 ประตู ประตูน้ำ 2 ประตู และช่องกุด 1 ช่อง ภายในพระราชวังประกอบด้วย - พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ตั้งอยู่ด้านเหนือสุด - พระคลังมหาสมบัติ (ด้านใต้ลงมา) - พระที่นี่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ตั้งอยู่พระราชฐานชั้นนอกเป็นที่ประทับทอดพระเนตรฝึกพลสวนสนาม - พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์เป็นที่ประทับท้ายพระราชวัง - พระตำหนักตึกเป็นที่ประทับของพระมเหสี - พระที่นั่งทรงปืน - ตำหนักสวนกระต่าย - ตำหนักสระแก้ว - ตำหนักศาลาลวด - ถังประปา
จากข้อมูลดังกล่าวจึงได้มีการวิเคราะห์และจัดทำผังสันนิษฐานของพระราชวังหลวงในระยะต่างๆ ไว้ด้วย >> ทั้งนี้ สรุปข้อมูลมาจาก หนังสือสถาปัตยกรรมในสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้สนใจสามารถอ่านต่อได้ที่ https://pubhtml5.com/iytc/tiym
หากมีการนำข้อมูลการศึกษาวิเคราะห์ไปต่อยอด การอ้างอิงข้อมูลพื้นฐานเป็นมารยาทที่พึงกระทำในแวดวงนักวิชาการ
----------------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา https://www.facebook.com/AY.HI.PARK/posts/1395881527427348
----------------------------------------------------------------------
จำนวนผู้เข้าชม 8,430 คน
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน