กท.๗๙ ตู้ขาหมู (ตู้แฝด ๔ ใบ)
กท.๗๙ ตู้ขาหมู (ตู้แฝด ๔ ใบ)
ฝีมือช่าง สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติ สมบัติเดิมของหอสมุดแห่งชาติ
ลักษณะลาย ตู้ลายรดน้ำ ตกแต่งภาพเล่าเรื่องอันเนื่องด้วยพุทธศาสนาเรื่อง ประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาตอนหนึ่ง ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว คือ การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑ - ๓ จนกระทั่งถึงสมัยพระพุทธโฆษะ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑ - พ.ศ.๑๐๐๐ เป็นที่สุด เขียนภาพเล่าเรื่องเพียง ๒ ด้าน
ตู้ กท.๗๙ นี้มีทั้งหมด ๔ ตู้ คือ กท.๗๙ กท.๗๙.๑ กท.๗๙.๒ และกท.๗๙.๓ ตู้ทั้ง ๔ ใบนี้วางเป็นกลุ่มทำนองเดียวกับตู้แฝด ๔ ใบ คือ ด้านข้างและด้านหลังของตู้ทั้ง ๔ ใบนี้อยู่ชิดกัน และตกแต่งภาพเล่าเรื่องสืบเนื่องกันทั้ง ๔ ตู้
เสาขอบตู้ เขียนลายรักร้อยดอกไม้ประดิษฐ์อย่างใหม่และลายกรวยเชิงใบเทศเสาขาตู้ เขียนลายกรวยเชิงใบเทศประดิษฐ์อย่างใหม่
ขอบบน ขอบล่าง เขียนลายก้านต่อดอกเครือเถา และลายบัวใบเทศประดิษฐ์อย่างใหม่
เชิงตู้ ทำเป็นรูปปากสิงห์ เหนือจมูกสิงห์เขียนเถาของดอกพุดตานคดโค้งแบบลายของชาวยุโรป และเขียนลายดอกพุดตานเต็มเนื้อที่ของปากสิงห์
ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมู ภาพเล่าเรื่องการทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๑ [กท.๗๙] ศิลปะ รัตนโกสินทร์ ไม้ ลงรักปิดทอง (ลายรดน้ำ) ขนาด สูง ๒๔๕ ซม. กว้าง ๙๐ ซม.
ประวัติ สมบัติเดิมของหอสมุดแห่งชาติ
Manuscript Cabinet on pig-legged stand is painted with scene depicting the first grand council of Buddhists held to revise the Tripitaka or Buddhist canon. [BK.79] Rattanakosin style
Lacquered and gilded wood and the decorative
technique called Lai Rot Nam
(splashed water pattern)
H. 245 cm. W. 86 cm.
Custodian: National Library, Bangkok
https://heritage.asean.org/view/NLT/NLT_BK79#mode=browse