กท.๕๘ ตู้ขาหมู (เลขที่เดิม ๑๒๐)
กท.๕๘ ตู้ขาหมู (เลขที่เดิม ๑๒๐)
ฝีมือช่าง สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติ เดิมอยู่วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ลักษณะลาย ตู้ลายรดน้ำ ตกแต่งภาพบุคคลยืนโดดเดี่ยวเต็มเนื้อที่
ขอบบน ทำเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย ขอบล่างทำเป็นรูปฐานบัวหงาย ลงทองทึบตลอด
เสาขอบตู้ ขาตู้ ลงทองทึบ
เชิงตู้ ทำเป็นรูปปากสิงห์ ลงทองทึบตลอดด้านข้างขวา ซ้าย และด้านหลัง
ผนังตู้ ด้านในบนบานประตูขวาซ้าย ตอนกลางขวาซ้าย เขียนภาพกระถางต้นกนกเปลวทึบ ลายก้านขด
สอดเกี่ยวกับลายเถาเลื้อย มีช่อพุ่มข้าวบิณฑ์อยู่ตรงกลาง ตอนล่างของด้านขวาเขียนลายมีลักษณะคล้าย
การตัดกระดาษที่พับหลายชั้น ซึ่งเมื่อคลี่กระดาษออกแล้วจะเห็นลายต่างๆ กัน เฉพาะที่นี้เป็นรูปดอกไม้ทรงสี่เหลี่ยมวางมุมต่างกัน ๓ ดอก และรูปวงกลม ๑ ดอก ส่วนด้านซ้ายเขียนลายดอกสี่เหลี่ยม ๔ ดอกอยู่ในลักษณะทรงเดียวกันและวางมุมแบบเดียวกัน อยู่ในแบบลายหน้ากระดานตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมู ตกแต่งภาพ
บุคคลเต็มเนื้อที่ และจารึกอักษรขอม
ภาษาไทย (กท.๕๘)
ศิลปะ รัตนโกสินทร์
ไม้ ลายรดน้ำ
ขนาด สูง ๑๗๖.๕ ซม. กว้าง ๑๑๒.๕ ซม.
ประวัติได้มาจากวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๖๕
Manuscript Cabinet on pig-legged stand with portraits of human and Khmer inscripts in Thai language.
[BK.58, 120]
Rattanakosin style
Lacquered and gilded wood and the
decorative technique called Lai Rot Nam
(splashed water pattern)
H. 176.5 cm. W. 112.5 cm.
From Wat
Pratumkhongkha Ratchaworawihan,
Bangkok to the National Library
on 5 May 1922