ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมูภาพเล่าเรื่อง ปฐมสมโพธิและเรื่องปัญญาสชาดก (กท.๗๗)

กท.๗๗  ตู้ขาหมู  (เลขที่เดิม ๑๐๙)



กท.๗๗
  ตู้ขาหมู  (เลขที่เดิม ๑๐๙)

ฝีมือช่าง  สมัยรัตนโกสินทร์

ประวัติ  เดิมอยู่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  กรุงเทพมหานคร

ลักษณะลาย  ตู้ลายรดน้ำ ตกแต่งภาพเล่าเรื่อง ปฐมสมโพธิ และเรื่องในปัญญาชาดก เต็มเนื้อที่

ด้านหลัง เป็นประตูตู้ทำด้วยกระจกซึ่งทำขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อใช้เปิดปิดแทนด้านหน้าเป็นการป้องกันมิให้ภาพลายทองหมอง ตั้งแต่ขอบบนถึงขอบล่างลงรักดำทึบ
เสาขอบตู้ ๓ ด้านตกแต่งลายภายในลูกกระหนาบ ที่ลูกกระหนาบตกแต่งเป็นลายดอกประจำยามสลับลูกแก้วกึ่งกลางเขียนเป็นลายรักร้อยบัวร้อย มีลายกาบพรหมศรอยู่ที่ส่วนล่างของเสาขอบตู้
เสาขาตู้ ๓ ด้านเขียนลายรดน้ำบนพื้นรักแดงเป็นรูปท้าวเวสวัณ ยืนถือตะบอง
ขอบบน ขอบล่าง ๓ ด้านตกแต่งด้วยลายประจำยามลูกฟักก้ามปูเหนือลายบัว
เชิงตู้ ๓ ด้านทำเป็นรูปหูช้างซึ่งมีส่วนบนยาวออกไปจดกันพอดี ตกแต่งด้วยลายรดน้ำบนพื้นรักแดง เขียนเป็นลายก้านขด ด้านหน้ามีออกเถาลิงครึ่งตัวคนครึ่งตัว อยู่ในท่ารำชื่อ ตระเวนเวหา ที่มุมขวามีภาพกินรีพนมมือ ๑ ตัว มุมซ้ายลิง ๑ ตัวยืนแหงนหน้ามองขึ้นเบื้องบน ด้านข้างขวามีออกเถายักษ์อยู่ที่มุมล่างด้านขวา ลิงอยู่ที่มุมบนขวา มุมล่างด้านซ้ายมีออกเถาลิงครึ่งตัว ด้านขวาอมนุษย์ชื่อ เทพปักษี ครึ่งตัว และออกเถาหัวนก หัวครุฑด้านข้างซ้ายมีออกเถาลิงครึ่งตัวเทพปักษีและคนครึ่งตัว มุมล่างขวามีภาพกิเลน ๑ ตัว มุมล่างซ้ายมีภาพ
นรปักษาไกรสร ครึ่งบนเป็นคน หางเป็นนก เท้าเป็นสิงห์ ยืนแหงนหน้าขึ้นสู่เบื้องบน ด้านหลังไม่มีเชิงตู้

ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมู ภาพเล่าเรื่อง

ปฐมสมโพธิ และเรื่องปัญญาสชาดก

(กท.๗๗)

ศิลปะ รัตนโกสินทร์

ไม้ ลายรดน้ำ

ขนาดสูง ๑๖๕ ซม. กว้าง ๑๐๕.๕ ซม.

ประวัติ ได้มาจากวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

เขตธนบุรีกรุงเทพฯเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๔

 

Manuscript Cabinet on pig-legged stand with scenes fromPathomsomphotandPannasa Jataka”.

[BK.77, 109]

Rattanakosin style

Lacquered and gilded wood and the decorative technique called Lai Rot Nam (splashed water pattern)

H. 165 cm. W. 105.5 cm.

From Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan, Bangkok to the National library in 1921



Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.

Messenger