เครื่องมือช่วยการเข้าถึง
keyboard navigation
block animations
color contrast
เฉดสีเทา
สีปกติ
สีกลับกัน
text size
เพิ่มขนาดตัวอักษร
ลดขนาดตัวอักษร
readable
text
highlighting content
underline
links
underline
headers
images
titles
zoom in
big white
cursor
big black
cursor
zoom
screen
accessibility statement
report an accessibility problem
ล้างค่า
Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
คลังวีดิทัศน์
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ระบบสืบค้น/ขอสำเนาเอกสารจดหมายเหตุ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
ดาว์นโหลดแบบฟอร์ม
ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศหอสมุดแห่งชาติ
ระบบสืบค้นข้อมูลห้องสมุดดนตรี
ระบบสืบค้นเอกสารโบราณ จารึก ตู้พระธรรม
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
คู่มือประชาชน
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยนที่เมืองท่าโบราณเขาสามแก้ว
วัสดุ :
หิน
ขนาด :
น้ำหนัก 60 กรัม
สมัย :
ก่อนประวัติศาสตร์
อายุ :
พุทธศตวรรษที่ 5-10
ลักษณะวัตถุ :
หินคาร์เนเลี่ยนสีส้ม รูปทรงต่างๆ ร้อยรวมเป็น 1 พวง จำนวน 64 เม็ด
ลูกปัดเป็นเครื่องประดับที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลานาน คนก่อนประวัติศาสตร์ใช้วัสดุที่ใกล้ตัว เช่น เปลือกหอย, กระดูกสัตว์ และหิน มาเจาะรูแล้วร้อยเป็นเส้น ใช้เป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ หรือร้อยติดกับเส้นผมและเสื้อผ้า ในหลุมฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์พบว่ามีการสวมสร้อยลูกปัดให้กับคนตาย ลูกปัดจึงเป็นเครื่องประดับที่มีค่าของคนในอดีต ได้ค้นพบแหล่งผลิตลูกปัดโบราณในภาคใต้ เช่น แหล่งโบราณคดีควนลูกปัดหรือคลองท่อม จังหวัดกระบี่, แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง และแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร เป็นต้น
แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว เป็นเมืองท่าโบราณรุ่นแรกในภาคใต้ กำหนดอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 5-10 พบว่ามีการติดต่อกับต่างแดน ได้พบโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการค้าในสมัยโบราณ เช่น กลองมโหระทึกตราประทับ และต่างหูลิง-ลิง-โอ เป็นต้น และพบว่าเขาสามแก้วเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับเพื่อเป็นสินค้าส่งออก เช่น กำไลและลูกปัดแบบต่างๆ ที่ทำมาจากหินและแก้ว ได้ค้นพบหินวัตถุดิบซึ่งอยู่ในขั้นตอนการผลิตที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เช่น ลูกปัดที่ยังไม่ได้เจาะรู, รูที่เจาะไม่เสร็จสมบูรณ์, การขัดฝนยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เป็นต้น ลูกปัดที่พบเป็นจำนวนมากในแหล่งเขาสามแก้ว คือ ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยน มีหลายรูปแบบ เช่น วงกลม, ทรงเหลี่ยม, ทรงพระจันทร์เสี้ยว และทรงกระบอก เป็นต้น นักวิชาการผู้ทำการศึกษาแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้วให้ข้อคิดเห็นว่า หินคาร์เนเลี่ยนที่พบในแหล่งเขาสามแก้วอาจเป็นหินที่นำมาจากอินเดียเพราะอินเดียมีแหล่งหินคาร์เนเลี่ยนที่มีคุณภาพดีมีสีสันสดใส หรืออาจจะใช้หินวัตถุดิบในท้องถิ่นซึ่งมีสีสันไม่จัดจ้านแล้วใช้วิธีการหุงแร่ซึ่งรับมาจากอินเดีย การหุงแร่จะทำให้หินคาร์เนเลี่ยนมีสีสันสดใสโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ถือเป็นการนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตลูกปัดจากอินเดีย
จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าเขาสามแก้วเป็นเมืองท่าและเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่สำคัญใน พุทธศตวรรษที่ 5-10 มีการติดต่อและรับวิธีการผลิตลูกปัดมาจากอินเดีย กลุ่มคนที่เป็นแรงงานในการผลิตนั้นน่าจะเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมในภาคใต้ การก่อตั้งเมืองท่าเขาสามแก้วคงเป็นสื่อกลางและตัวกระตุ้นให้กลุ่มคนดั้งเดิมติดต่อกับกลุ่มคนจากต่างแดนที่มีเทคโนโลยีการผลิตสูงกว่า ทำให้วิถีชีวิตของคนดั้งเดิมในภาคใต้เปลี่ยนแปลงไปและมีพัฒนาการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในที่สุด //แหล่งที่พบ : แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ปัจจุบัน จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร //เอกสารอ้างอิง : ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “เขาสามแก้ว : ชุมชนโบราณ,” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.2529 เล่ม1. กรุงเทพ: สถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2529. ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “ลูกปัดต่างชาติในแหล่งโบราณคดีประเทศไทย,” ศิลปากร, ปีที่ 33, ฉบับที่ 1 (มีนาคม-เมษายน 2533) 5-19.
จำนวนผู้เข้าชม 13,903 คน
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน