ใครอยากอพยพเชิญอ่าน
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ใครอยากอพยพเชิญอ่าน --
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พลเรือนส่วนใหญ่หลายประเทศต้องการย้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัย รัฐบาลไทยขณะนั้นจึงร่าง " หลักการปฏิบัติในการควบคุมช่วยเหลือผู้อพยพ " ขึ้น ดังสรุปรายละเอียดได้ว่า
1. จัดตั้งนิคมให้มีเรือน โรงแถว ทำจากวัสดุในท้องถิ่น
2. หากผู้อพยพนำอาหารติดตัวมาก็ให้บริโภคอาหารนั้น และอนุญาตให้ออกหาเครื่องอุปโภคบริโภคได้ ส่วนอีกทางจะจัดการบอกบุญหรือของบประมาณจากองค์กรสงเคราะห์มาช่วยเหลือ
3. จัดการให้ผู้อพยพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำอุตสาหกรรมครัวเรือนเบื้องต้น
4. ส่งแพทย์ประจำตำบลมาตรวจรักษาพยาบาลสม่ำเสมอ
5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องคอยสอดส่องความปลอดภัย ป้องกันการจารกรรมของข้าศึก
6. รัฐจะเปิดการอบรมประวัติศาสตร์ไทย การปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ วัฒนธรรมไทย รัฐนิยม และชักจูงให้จงรักภักดีต่อชาติไทย
จากสาระสำคัญดังกล่าวนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นขั้นตอนบังคับผู้อพยพบางประการ เพื่อแลกกับความปลอดภัยของตน ส่วนในทางกลับกันเพื่อเป็นความปลอดภัยของชาติไทยเช่นกัน เพราะขณะนั้น รัฐบาลเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี) แล้ว หากผู้อพยพเป็นคนสัญชาติศัตรูจะแฝงเข้ามาทำสิ่งใดก็ย่อมได้
เอกสารร่าง " หลักการปฏิบัติในการควบคุมช่วยเหลือผู้อพยพ " นี้ กระทรวงมหาดไทยส่งมาถึงข้าหลวงประจำจังหวัดสุโขทัย ซึ่งทางจังหวัดเกษียณคำสั่งต่อสั้นๆ ว่า " ส่งสำเนาให้อำเภอทราบเพื่อปฏิบัติ " แต่ไม่มีรายงานหรือหลักฐานเพิ่มเติมถึงการอพยพ การยกระดับร่างหลักการฯ เป็นกฎหมาย และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมใดๆ
อย่างไรก็ดี ร่างหลักการปฏิบัติในการควบคุมช่วยเหลือผู้อพยพ เป็นหลักฐานชั้นต้นในภาวะสงคราม สะท้อนภารกิจของรัฐบาลด้านมนุษยชน ปกป้องพลเรือนไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม และที่สำคัญ เป็นการป้องปรามข้าศึกที่อาจเข้ามาแนวหลังไปพร้อมกัน
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. สท 1.2.2/21 เอกสารสำนักงานปกครองจังหวัดสุโขทัย เรื่อง การช่วยเหลือผู้อพยพจากเขตในปกครองอังกฤษเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย [ 17 พ.ค. 2485 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พลเรือนส่วนใหญ่หลายประเทศต้องการย้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัย รัฐบาลไทยขณะนั้นจึงร่าง " หลักการปฏิบัติในการควบคุมช่วยเหลือผู้อพยพ " ขึ้น ดังสรุปรายละเอียดได้ว่า
1. จัดตั้งนิคมให้มีเรือน โรงแถว ทำจากวัสดุในท้องถิ่น
2. หากผู้อพยพนำอาหารติดตัวมาก็ให้บริโภคอาหารนั้น และอนุญาตให้ออกหาเครื่องอุปโภคบริโภคได้ ส่วนอีกทางจะจัดการบอกบุญหรือของบประมาณจากองค์กรสงเคราะห์มาช่วยเหลือ
3. จัดการให้ผู้อพยพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำอุตสาหกรรมครัวเรือนเบื้องต้น
4. ส่งแพทย์ประจำตำบลมาตรวจรักษาพยาบาลสม่ำเสมอ
5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องคอยสอดส่องความปลอดภัย ป้องกันการจารกรรมของข้าศึก
6. รัฐจะเปิดการอบรมประวัติศาสตร์ไทย การปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ วัฒนธรรมไทย รัฐนิยม และชักจูงให้จงรักภักดีต่อชาติไทย
จากสาระสำคัญดังกล่าวนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นขั้นตอนบังคับผู้อพยพบางประการ เพื่อแลกกับความปลอดภัยของตน ส่วนในทางกลับกันเพื่อเป็นความปลอดภัยของชาติไทยเช่นกัน เพราะขณะนั้น รัฐบาลเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี) แล้ว หากผู้อพยพเป็นคนสัญชาติศัตรูจะแฝงเข้ามาทำสิ่งใดก็ย่อมได้
เอกสารร่าง " หลักการปฏิบัติในการควบคุมช่วยเหลือผู้อพยพ " นี้ กระทรวงมหาดไทยส่งมาถึงข้าหลวงประจำจังหวัดสุโขทัย ซึ่งทางจังหวัดเกษียณคำสั่งต่อสั้นๆ ว่า " ส่งสำเนาให้อำเภอทราบเพื่อปฏิบัติ " แต่ไม่มีรายงานหรือหลักฐานเพิ่มเติมถึงการอพยพ การยกระดับร่างหลักการฯ เป็นกฎหมาย และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมใดๆ
อย่างไรก็ดี ร่างหลักการปฏิบัติในการควบคุมช่วยเหลือผู้อพยพ เป็นหลักฐานชั้นต้นในภาวะสงคราม สะท้อนภารกิจของรัฐบาลด้านมนุษยชน ปกป้องพลเรือนไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม และที่สำคัญ เป็นการป้องปรามข้าศึกที่อาจเข้ามาแนวหลังไปพร้อมกัน
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. สท 1.2.2/21 เอกสารสำนักงานปกครองจังหวัดสุโขทัย เรื่อง การช่วยเหลือผู้อพยพจากเขตในปกครองอังกฤษเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย [ 17 พ.ค. 2485 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 400 ครั้ง)