ไหรูปนก
ไหรูปนก
เตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
นายโยธิน-นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ มอบให้เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ไหทรงสูงเคลือบ ปากไหกลมขอบปากซ้อนกันสองชั้น คอไหสูงและคอด ลำตัวป่องกลมตกแต่งเป็นรูปนกดวงตาโต จงอยปากแหลมเชิดหน้าขึ้นด้านบน ด้านข้างขูดขีดเป็นรูปปี กนก ก้นไหสอบเข้าหากัน เชิงไหสูงตกแต่งเป็นรูปขานกทั้งสองข้างในท่าตะครุบเหยื่อไว้ในกรงเล็บ
ไหชิ้นนี้ตกแต่งด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์คือการเลียนแบบรูปนกซึ่งน่าจะหมายถึง นกเค้า หรือ นกฮูก เป็นสัตว์ที่พบได้แพร่หลายตามพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย และมีหลายสายพันธุ์ เช่น นกเค้าโมง นกเค้าแคระ นกเค้าจุด นกเค้าแมว ฯลฯ นกเค้าชอบออกหากินในเวลากลางคืน มักจะจับสัตว์เล็กพวกหนู ค้างคาว และงู อีกทั้งการตกแต่งของภาชนะชิ้นนี้มีความน่าสนใจคือการ “เคลือบสองสี” กล่าวคือ ส่วนปาก ตัวและเชิงไหนั้นเคลือบสีน้ำตาลซึ่งมีส่วนผสมมาจากออกไซต์ของแร่เหล็ก ขณะที่ส่วนจงอยปาก และหางนั้นมีร่องรอยของน้ำเคลือบสีเขียวที่มีส่วนผสมสำคัญคือขี้เถ้าพืช
[อ่านรายละเอียดของการทำน้ำเคลือบตกแต่งภาชนะเครื่องเคลือบกลุ่มเตาพนมดงเร็กได้ใน: https://www.facebook.com/.../pb.../5668477903204389/....
อ้างอิง
Dawn F. Rooney. Khmer Ceramics Beauty and Meaning. Bangkok: Riverbook, 2010.
(จำนวนผู้เข้าชม 432 ครั้ง)