ปราสาทเขาโล้น : การอนุรักษ์โบราณสถานด้วยวิธีการก่ออิฐดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร
หลังจากที่ได้ดำเนินงานโบราณคดีเพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทเขาโล้นแล้ว กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรีและสำนักสถาปัตยกรรม ได้ดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานในปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
ขั้นตอนการอนุรักษ์โบราณสถานเริ่มจากการถอดรื้ออิฐที่เสื่อมสภาพออก ทำการแทนที่ด้วยอิฐใหม่ ที่เผาให้มีความแกร่งใกล้เคียงกับอิฐเดิม โดยใช้อิฐใหม่ในการก่อโครงสร้างภายในของโบราณสถาน และพยายามใช้อิฐเก่าก่อปิดบริเวณผิวนอกของโบราณสถานเพื่อแสดงความเป็นของแท้ดั้งเดิมและทำให้ มีความกลมกลืนกับอิฐดั้งเดิม อิฐที่นำมาใช้ต้องทำการขัดแต่งผิวจนเรียบเพื่อทำให้รอยต่อของอิฐแต่ละก้อนแนบสนิท ใกล้เคียงกับวิธีการก่ออิฐดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร หลังจากนั้นกะเทาะหรือขูดผิวอิฐให้เป็นร่องเล็กน้อย เพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะของปูนสอ ซึ่งมีส่วนผสมของปูนขาวหมัก ทรายละเอียด กากน้ำตาลและ กาวหนังควาย
ในการอนุรักษ์โบราณสถานได้ทำการก่ออิฐซ่อมแซมเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรงโดยรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ทั้งนี้ในบริเวณซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานซึ่งพังทลายลงจากการ รื้อถอนทับหลังและเสาประตูออกไป ในการอนุรักษ์ได้ทำการเสริมวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตู หินทราย ร่วมกับหินวงกบประตูชิ้นบนที่พบบริเวณปราสาท เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับติดตั้งทับหลังในอนาคต โดยหากมีการติดตั้งทับหลังแล้ว สามารถก่ออิฐเสริมบริเวณเสาซุ้มและหน้าบันให้มีลักษณะดังเดิม
๑. ภาพสันนิษฐานของปราสาท 3 หลังบนฐานไพที
๒. การถอดรื้ออิฐเก่า
๓. การก่ออิฐด้วยวิธีดั้งเดิม
๔. การเตรียมหินทรายเพื่อเสริมในตำแหน่งวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตู
๕. ปราสาท 3 หลังบนฐานไพที หลังการอนุรักษ์
๖. ปราสาทประธาน หลังการอนุรักษ์
๗. บรรณาลัย หลังการอนุรักษ์
๘. โคปุระทิศตะวันออก หลังการอนุรักษ์
๙. โคปุระทิศใต้ หลังการอนุรักษ์
๑๐. โคปุระทิศตะวันตก หลังการอนุรักษ์
๑๑. กำแพงแก้ว หลังการอนุรักษ์
๑๒. การเสริมหินวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตูหินทรายเพื่อรองรับทับหลัง
---------------------------------------------------
ผู้เขียน : นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ)สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
ขั้นตอนการอนุรักษ์โบราณสถานเริ่มจากการถอดรื้ออิฐที่เสื่อมสภาพออก ทำการแทนที่ด้วยอิฐใหม่ ที่เผาให้มีความแกร่งใกล้เคียงกับอิฐเดิม โดยใช้อิฐใหม่ในการก่อโครงสร้างภายในของโบราณสถาน และพยายามใช้อิฐเก่าก่อปิดบริเวณผิวนอกของโบราณสถานเพื่อแสดงความเป็นของแท้ดั้งเดิมและทำให้ มีความกลมกลืนกับอิฐดั้งเดิม อิฐที่นำมาใช้ต้องทำการขัดแต่งผิวจนเรียบเพื่อทำให้รอยต่อของอิฐแต่ละก้อนแนบสนิท ใกล้เคียงกับวิธีการก่ออิฐดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร หลังจากนั้นกะเทาะหรือขูดผิวอิฐให้เป็นร่องเล็กน้อย เพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะของปูนสอ ซึ่งมีส่วนผสมของปูนขาวหมัก ทรายละเอียด กากน้ำตาลและ กาวหนังควาย
ในการอนุรักษ์โบราณสถานได้ทำการก่ออิฐซ่อมแซมเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรงโดยรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ทั้งนี้ในบริเวณซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานซึ่งพังทลายลงจากการ รื้อถอนทับหลังและเสาประตูออกไป ในการอนุรักษ์ได้ทำการเสริมวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตู หินทราย ร่วมกับหินวงกบประตูชิ้นบนที่พบบริเวณปราสาท เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับติดตั้งทับหลังในอนาคต โดยหากมีการติดตั้งทับหลังแล้ว สามารถก่ออิฐเสริมบริเวณเสาซุ้มและหน้าบันให้มีลักษณะดังเดิม
๑. ภาพสันนิษฐานของปราสาท 3 หลังบนฐานไพที
๒. การถอดรื้ออิฐเก่า
๓. การก่ออิฐด้วยวิธีดั้งเดิม
๔. การเตรียมหินทรายเพื่อเสริมในตำแหน่งวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตู
๕. ปราสาท 3 หลังบนฐานไพที หลังการอนุรักษ์
๖. ปราสาทประธาน หลังการอนุรักษ์
๗. บรรณาลัย หลังการอนุรักษ์
๘. โคปุระทิศตะวันออก หลังการอนุรักษ์
๙. โคปุระทิศใต้ หลังการอนุรักษ์
๑๐. โคปุระทิศตะวันตก หลังการอนุรักษ์
๑๑. กำแพงแก้ว หลังการอนุรักษ์
๑๒. การเสริมหินวงกบประตูและเสาประดับกรอบประตูหินทรายเพื่อรองรับทับหลัง
---------------------------------------------------
ผู้เขียน : นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ)สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
(จำนวนผู้เข้าชม 1282 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน