เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เตาเผาสังคโลกเป็นอย่างไร?
เตาที่ใช้เผาเครื่องสังคโลกที่พบจากเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยมีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิดคือ เตาประทุน เป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวนอน ลักษณะเตามีรูปร่างรี พื้นเรียบแบน ก่อหลังคาโค้งบรรจบกันคล้ายประทุนเรือ จึงเป็นที่มาของชื่อ “เตาประทุน” มักวางตัวลาดเอียงจากส่วนหน้าขึ้นไปยังส่วนท้ายประมาณ ๑๐ - ๓๐ องศา ส่วนประกอบของเตาประทุนแบ่งเป็น ห้องใส่ไฟ อยู่ส่วนหน้าในระดับต่ำที่สุด ตอนหน้ามีช่องใส่ไฟเจาะเป็นช่องโค้งรูปเกือกม้า ถัดมาเป็น ห้องบรรจุภาชนะ อยู่บริเวณตอนกลางเตา เป็นส่วนที่กว้างที่สุดและลาดเทจากส่วนหน้าเตาไปยังปล่องไฟ บนพื้นมักโรยทรายหนาประมาณ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร เพื่อใช้ฝังกี๋ท่อสำหรับรองรับภาชนะ และ ปล่องไฟ เป็นส่วนสุดท้ายของเตามีรูปร่างกลม
ส่วนเตาตะกรับเป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวดิ่ง ลักษณะเตามีรูปร่างกลม ส่วนประกอบของเตาตะกรับมีอยู่ ๒ ส่วนคือ ห้องบรรจุภาชนะ อยู่ตอนบนสุด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ เมตร ใช้วางภาชนะที่จะเผาแล้วใช้เศษภาชนะดินเผาวางสุมทับด้านบนอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้ความร้อนไหลผ่านกลุ่มภาชนะได้ช้าลงและ ห้องใส่ไฟ เป็นบริเวณใส่เชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนลอยขึ้นสู่ด้านบนมักมีช่องใส่เชื้อเพลิงยื่นออกมาด้านหน้าเพื่อใส่เชื้อเพลิงได้สะดวกและกันความร้อนในเตาให้ไหลสู่ด้านบนได้มากขึ้น ระหว่างห้องบรรจุภาชนะและปล่องไฟจะมีแผ่นดินเหนียวกลมหนาประมาณ ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร เจาะรูกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ - ๑๐ เซนติเมตร จำนวนมากคั่นอยู่ เรียกว่า “แผ่นตะกรับ” ทำหน้าที่ให้ความร้อนไหลผ่านจากด้านล่างสู่ห้องบรรจุภาชนะด้านบนมักวางอยู่บนค้ำยันที่ทำจากดินเหนียวอยู่เบื้องล่างภายในพื้นที่ห้องใส่ไฟ
ภาพ : เตาเผาสังคโลกหมายเลข ๖๑ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ที่มาข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
(จำนวนผู้เข้าชม 731 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน