ยอดธง
ยอดธงเทวรูปสำริด ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบที่ปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะเป็นเทวรูปสำริด สวมกระบังหน้า มงกุฎทรงกรวย สวมกุณฑล กรองศอ พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท นุ่งผ้าสั้นเหนือเข่า ชักชายผ้าวงโค้งด้านหน้า แสดงอิริยาบถท่าทางยกมือขึ้นทั้งสองข้าง และยกเท้าขวาขึ้น โดยยืนเหนือแท่น
ยอดธงหรือยอดเสาธงชัยนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำขบวนบุคคลสำคัญ ซึ่งปรากฏแวดล้อมคู่กับธงและเครื่องสูง ยอดธงนี้ปรากฏตั้งแต่สมัยอาณาจักรเขมร โดยปรากฏทั้งที่ภาพสลักปราสาทนครวัดและปราสาทนครธม ลักษณะเป็นประติมากรรมรูปสัตว์ รูปครุฑ รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ รวมถึงในฉากตอนที่มีการเคลื่อนทัพ นอกจากนี้ยังปรากฎทับหลังในประเทศไทย ดังเช่น ทับหลังรามายณะ ตอน สุครีพครองเมือง ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พบที่ปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะเป็นยอดธงนำหน้าขบวนทัพ โดยแวดล้อมพร้อมด้วยเครื่องสูง โดยหลักฐานการปรากฏยอดธงนั้น ยังคงปรากฏจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นธงชัยเฉลิมพลสมัยรัตนโกสินทร์ นั้นเป็นพระพุทธรูปและของมงคล เพื่อเป็นการคุ้มครอง อำนวยพร และสร้างความมีชัยให้กับเหล่าทัพ
ยอดธง ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบที่ปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ทับหลังรามายณะ ตอน สุครีพครองเมือง ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พบที่ปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ตำแหน่งของยอดธงจากภาพสลักทับหลังของปราสาทพิมาย
ลายเส้นยอดธงปราสาทนครวัด
ภาพลายเส้น อ้างอิงจาก นายมนตรี ชมชิดนุช,ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัดและบายน กรณีศึกษา ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน,(สาขาวิชาเขมรศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๗),๑๕๘. โดยอ้างจาก Jacq-Hergoualc’h, Michel, I’Armemnt et l’ Organization de I’Armee Khmere (Paris:Presses Univer sitaires de Frence,1979),198.
ลายเส้นยอดธงปราสาทบายน
ภาพลายเส้น อ้างอิงจาก นายมนตรี ชมชิดนุช,ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัดและบายน กรณีศึกษา ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน,(สาขาวิชาเขมรศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๗),๑๕๙. โดยอ้างจาก Jacq-Hergoualc’h, Michel, I’Armemnt et l’ Organization de I’Armee Khmere (Paris:Presses Univer sitaires de Frence,1979),199.
-------------------------------------------------------
ข้อมูลโดย นางสาวอทิตยา ถิระโชติ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ข้อมูลอ้างอิง
นายมนตรี ชมชิดนุช.ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัดและบายน กรณีศึกษา ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๗.
ภาพลายเส้นอ้างอิงจาก นายมนตรี ชมชิดนุช,ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัดและบายน กรณีศึกษา ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน,(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๗),๑๕๘-๑๕๙. โดยอ้างจาก Jacq-Hergoualc’h, Michel, I’Armemnt et l’ Organization de I’Armee Khmere (Paris:Presses Univer sitaires de Frence,๑๙๗๙),๑๙๘-๑๙๙.
ยอดธงหรือยอดเสาธงชัยนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำขบวนบุคคลสำคัญ ซึ่งปรากฏแวดล้อมคู่กับธงและเครื่องสูง ยอดธงนี้ปรากฏตั้งแต่สมัยอาณาจักรเขมร โดยปรากฏทั้งที่ภาพสลักปราสาทนครวัดและปราสาทนครธม ลักษณะเป็นประติมากรรมรูปสัตว์ รูปครุฑ รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ รวมถึงในฉากตอนที่มีการเคลื่อนทัพ นอกจากนี้ยังปรากฎทับหลังในประเทศไทย ดังเช่น ทับหลังรามายณะ ตอน สุครีพครองเมือง ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พบที่ปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะเป็นยอดธงนำหน้าขบวนทัพ โดยแวดล้อมพร้อมด้วยเครื่องสูง โดยหลักฐานการปรากฏยอดธงนั้น ยังคงปรากฏจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นธงชัยเฉลิมพลสมัยรัตนโกสินทร์ นั้นเป็นพระพุทธรูปและของมงคล เพื่อเป็นการคุ้มครอง อำนวยพร และสร้างความมีชัยให้กับเหล่าทัพ
ยอดธง ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบที่ปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ทับหลังรามายณะ ตอน สุครีพครองเมือง ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พบที่ปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ตำแหน่งของยอดธงจากภาพสลักทับหลังของปราสาทพิมาย
ลายเส้นยอดธงปราสาทนครวัด
ภาพลายเส้น อ้างอิงจาก นายมนตรี ชมชิดนุช,ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัดและบายน กรณีศึกษา ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน,(สาขาวิชาเขมรศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๗),๑๕๘. โดยอ้างจาก Jacq-Hergoualc’h, Michel, I’Armemnt et l’ Organization de I’Armee Khmere (Paris:Presses Univer sitaires de Frence,1979),198.
ลายเส้นยอดธงปราสาทบายน
ภาพลายเส้น อ้างอิงจาก นายมนตรี ชมชิดนุช,ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัดและบายน กรณีศึกษา ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน,(สาขาวิชาเขมรศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๗),๑๕๙. โดยอ้างจาก Jacq-Hergoualc’h, Michel, I’Armemnt et l’ Organization de I’Armee Khmere (Paris:Presses Univer sitaires de Frence,1979),199.
-------------------------------------------------------
ข้อมูลโดย นางสาวอทิตยา ถิระโชติ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ข้อมูลอ้างอิง
นายมนตรี ชมชิดนุช.ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัดและบายน กรณีศึกษา ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๗.
ภาพลายเส้นอ้างอิงจาก นายมนตรี ชมชิดนุช,ธงที่ปรากฏในภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรสมัยนครวัดและบายน กรณีศึกษา ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน,(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๔๗),๑๕๘-๑๕๙. โดยอ้างจาก Jacq-Hergoualc’h, Michel, I’Armemnt et l’ Organization de I’Armee Khmere (Paris:Presses Univer sitaires de Frence,๑๙๗๙),๑๙๘-๑๙๙.
(จำนวนผู้เข้าชม 2891 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน