โรคระบาดในสมัยอยุธยา
          ในสมัยอยุธยามีโรคระบาดที่ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่นาน โดยไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคอะไร จนทำให้เกิดการเรียกโรคแบบนี้ว่า ห่าลง สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ก่อนสร้างอยุธยาชาวบ้านล่มตายจากโรคที่มีแผลขนาดเท่าไข่ไก่ หรือผลส้มตรงต่อมน้ำเหลืองต่างๆ จากนั้นจะมีไข้สูง ปวดตามแขนและขา เมื่ออาการหนักจะเจ็บปวดทุกข์ทรมาน กระทั่งเสียชีวิต

          สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) จึงทรงอพยพโยกย้ายมาตั้งเมืองใหม่ที่หนองโสน เพราะว่าเกิด “โรคห่า” แพร่ระบาดอยู่ในเมืองเก่า สมัยอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (สมเด็จหน่อพุทธางกูร) เกิดไข้ทรพิษระบาดครั้งนั้นทำให้ประชาชนทั้งในและนอกพระนครติดไข้ทรพิษล้มตายเป็นจำนวนมาก และการระบาดครั้งที่ใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเพทราชา มีผู้เสียชีวิตถึง ๘๐,๐๐๐ คน ภายหลังเมื่อมีการศึกษาจึงพบว่าโรคห่าที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ในประวัติศาสตร์นั้น คือ อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ นั้นเอง



ภาพ : วัดพระราม สันนิษฐานว่าเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง

เรียบเรียงโดย นางสาวดาวิษา สุวรรณศรัย นักวิชาการวัฒนธรรม

ที่มาของข้อมูล https://www.facebook.com/306497089699136/posts/1095831584099012/

(จำนวนผู้เข้าชม 8617 ครั้ง)