ประวัติ
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ เป็นปีมหามงคลสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภุมิพลอดุลยเดช รัชการที่ ๙ ทรงปกครองแผ่นดินยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ปรากฎในประวัติศาสตร์ชาติไทย ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ เมื่อครั้งดำรงตำ่แหน่งนายกรัฐมนตรีมีำดำริเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พสกนิกรของพระองค์ท่านจะำได้แสดงถึงความจงรกภักดีต่อพระองค์ ด้วยการจัดสร้างอนุสรณ์สถาน เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพิธีรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๑ ซึ่งไม่มีสถานที่ใดที่จะเหมาะสมเท่ากับการจัดสร้างหอสมุดให้เป็นศูนย์กลางการรวบรวมเอกสาร ความรู้ ศิลปวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ได้ใช้เป็นแหล่งเสริมสร้างการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ตลอดจนเพื่อประโยชน์แก่สถาบันการศึกษาต่างๆ หน่วยราชการ และเอกชนทั่วไปได้เป็นอย่างดี จึงหมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในดำเนินการ ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย ในการจัดหาทุนก่อสร้างหอสมุดแห่งชาติประจำภาคขึ้น 2 แห่ง คือ ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออก โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ใช้ชื่อว่า "หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่" และ "หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี" และมอบให้กรมศิลปกรรับผิดชอบดำเนินการต่อไป
จากความร่วมมือร่วมใจของประชาชนชาวไทยทั่วทุกสารทิศที่ได้ร่วมกันบริจากเงินเพื่อสมทบทุนเป็นค่าก็สร้างหอสมุดดังกล่าว ในอันที่จะตอบสนองพระกรุณาธิคุณที่พระองค์มีต่อพสกนิกรชาวไทยทำให้การก่อสร้างอาคารทั้ง ๒ แห่งดังกล่าว สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งมีเงินบริจากเหลืออยู่ ๑๓ ล้านพิเศษ ซึ่ง ฯพณฯ องคมนตรีและรัฐบุรุษ เห็นสมควรให้จัดตั้งหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกอีก ๑ แห่งทางภาคตะวันตก คือ ที่จังหวัดกาญจนบุรี
บทบาทหน้าที่
๑. เป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยการให้บริการหนังสือ สิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุต่างๆ
๒. อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ โดยการเก็บสงวนรักษาและรวบรวมหนังสือ สิ่งพิมพ์ในท้องถิ่น และที่สำคัญคือ หนังสือไทยโบราณ ไว้ให้ครบถ้วน
๓. เป็นศุนย์เผยแพร่ข่าวสารทางวิชาการ และงานด้านบรรณารักษศาสตร์ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ
๔. เป็นศูนย์ประสานงานสรนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ
(จำนวนผู้เข้าชม 299 ครั้ง)
1. เป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยการให้บริการหนังสือ สิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุต่างๆ
2. อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ โดยการเก็บสงวนรักษาและรวบรวมหนังสือ สิ่งพิมพ์ในท้องถิ่น และที่สำคัญคือ หนังสือไทยโบราณ ไว้ให้ครบถ้วน
3. เป็นศูนย์เผยแพร่ข่าวสารทางวิชาการ และงานด้านบรรณารักษศาสตร์ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ
4. เป็นศูนย์ประสานงานสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ
(จำนวนผู้เข้าชม 264 ครั้ง)