ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมศิลปากร
Finearts Public Information Center
จากการที่มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ กำหนดกให้หน่วยงานรัฐจัดให้มีข้อมูลข่าวสารอย่างน้อย ๘ ประเภทไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ต่อมาคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้มีประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการ
ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีสถานที่สำหรับประชาชนสามารถใช้ในการค้นหาและศึกษาข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๙ ได้สะดวกตามสมควร
ข้อ ๒ ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำดัชนีที่มีรายละเอียดเพียงพอสำหรับประชาชนสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารตาม ข้อ ๑ ได้เอง
ข้อ ๓ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามข้อ ๑ ไว้ให้ประชาชนสามารถตรวจดูได้โดยสะดวก
ข้อ ๔ การให้ประชาชนเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสาร หน่วยงานของรัฐจะกำหนดระเบียบปฏิบัติเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือความปลอดภัยก็ได้ โดยคำนึงถึงความสะดวกของประชาชนผู้ขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารด้วย
ในฐานะศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร จึงได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมศิลปากร ขึ้นเพื่อเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งในการจัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูนี้ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศฯ ได้จัดให้มีหน้าเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของกรมศิลปากรไว้ที่ "https://www.finearts.go.th/infofa"
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ นี้มีเจตนารมณ์ของอันเป็นความคิดพื้นฐานสำคัญอยู่ ๕ ประการ คือ
一) เพื่อรับรอง “สิทธิได้รู้” ( Right to know ) ของประชาชน
二) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนใช้สิทธิได้โดยถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
三) เพื่อคุ้มครองข้อมูลข่าวสารบางประเภท ( Need to protect )
四) เพื่อส่งเสริมการปฏิรูประบบราชการ ปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่
五) เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐
ข้อมูลข่าวสาร หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อ ความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำ ไว้ในรูปของ เอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การ บันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใด ที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ ปรากฏได้
ข้อมูลข่าวสารราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง หรือ ควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการ ดำเนินงานของรัฐ หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วน
ท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่
เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ
หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวง
เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของ บุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการ ทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้น หรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้ รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคน หรือรูปถ่าย และให้ หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้ว เป็นต้น
หน้าที่และวิธีดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ
ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ๓ รูปแบบ
๑. นำข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามที่กำหนด ไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา ๗)
- โครงสร้างและการจัดองค์กร ในการดำเนินงาน
- สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ และวิธีการดำเนินงาน
- สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
- กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
- ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด
๒. นำข้อมูลข่าวสารตามที่กฎหมายกำหนดไปรวมไว้ให้ประชาชน เข้าตรวจดูได้ (มาตรา ๙)
- ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจะต้องรวบรวมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูเมื่อใดก็ได้ ได้แก่ ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยฯ, นโยบายและการตีความ, แผนงาน โครงการ และงบประมาณการจ่ายประจำปีฯ, คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ, สิ่งพิมพ์ได้มีการอ้างอิงถึงในราชกิจจานุเบกษา , สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ, มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมายหรือโดยมติคณะรัฐมนตรี และข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด
- วิธีการในการจัดข้อมูลข่าวสาร ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู (มาตรา ๗)
- แนวทางดำเนินการในกรณีที่ข้อมูลข่าวสารบางส่วนเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมควรเปิดเผย
๓. การเปิดเผยหรือการจัดหาข้อมูลข่าวสารทางราชการให้กับประชาชนที่มาขอเป็นการเฉพาะราย (มาตรา ๑๑)
(จำนวนผู้เข้าชม 507 ครั้ง)
(จำนวนผู้เข้าชม 80 ครั้ง)