...

ความรู้ข้อมูลทวารวดี
ศิลปกรรมทวารวดี

ศิลปะทวารวดี จัดเป็นศิลปกรรมต้นอารยธรรมสมัยประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการ อย่างต่อเนื่อง ณ บริเวณลุ่มน้ําเจ้าพระยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ บรรดาโบราณ วัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ส่วนใหญ่ล้วนสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิหินยาน หากแต่ยังปรากฏหลักฐานการนับถือศาสนาพุทธลัทธิมหายานและฮินดูรวมอยู่ด้วย อิทธิพล ของศิลปวัฒนธรรมทวารวดีได้แพร่ขยายไปยังภูมิภาคอื่น ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคใต้ จึงอาจกล่าวได้ว่าศิลปะทวารวดี คือ “ต้นกําเนิดพุทธศิลป์ใน สยามประเทศ” แต่เดิมการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของศิลปะทวารวดีมักให้ความสําคัญต่อ กลุ่มพระพุทธรูปเป็นหลัก เนื่องจากมีการค้นพบเป็นจํานวนมาก อีกทั้งยังบ่งบอกถึงการ รับนับถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในวัฒนธรรมทวารวดีได้เป็นอย่างดี แม้จะมีการค้นพบ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และศาสนาฮินดูปะปนอยู่บ้างแต่มีจํานวน ไม่มากนัก โดยทั่วไปมักจัดแบ่งกลุ่ม และยุคสมัย พระพุทธรูปศิลปะทวารวดีออกเป็น ๓ กลุ่มตามอายุสมัย ดังนี้ - ศิลปะทวารวดีตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ จัด เป็นพระพุทธรูประยะแรกของทวารวดีและพุทธศิลปะที่ปรากฏบนผืนแผ่นดินไทย ได้รับ อิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คุปตะ - หลังคุปตะ - ศิลปะทวารวดีตอนกลาง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เป็นกลุ่มพระพุทธรูปมีลักษณะผสมผสานระหว่างอิทธิพลอินเดียแบบหลังคุปตะ แบบปาละ และอิทธิพลพื้นเมือง จัดเป็นกลุ่มพระพุทธรูปเอกลักษณ์ศิลปกรรมสมัยทวารวดี เป็นแบบ ที่พบมากที่สุด - ศิลปะทวารวดีตอนปลาย อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ จัดเป็นรุ่นสุดท้าย ของศิลปะทวารวดี ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอมแบบบาแก๊ง และแบบบาปวน

เมืองโบราณสมัยทวารวดี

การสํารวจทางโบราณคดีที่ผ่านมาได้พบหลักฐานแหล่งโบราณคดี สมัยทวารวดีประมาณ ๑๐๖ แหล่ง ราว ๗๐ แหล่ง อยู่ในเขตที่ราบลุ่ม ภาคกลางตามลําน้ําเจ้าพระยา และภาคตะวันออก ส่วนที่เหลือ อยู่ในภาค อีสานประมาณ ๓๐ แหล่ง นอกเหนือจากนั้นอยู่ในเขตภาคเหนือ ๒ - ๓ แหล่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มใกล้ลําน้ําสําคัญ สามารถติดต่อกับ ชุมชนอื่นได้สะดวก โดยเริ่มจากบริเวณเมืองท่าใกล้ชายฝั่งทะเล หรือตาม เส้นทางการค้าในสมัยโบราณ ผังของเมืองโบราณ เมืองโบราณในสมัยทวารวดีมีแผนผังไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต มีทั้งที่ เป็นรูปวงกลม วงรี และเกือบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ตัว เมืองด้านหนึ่งมักตั้งอยู่ติดกับลําน้ํา มีคูน้ําและคันดินล้อมรอบ โดยทั่วไป มีเพียงชั้นเดียว อาจใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันอุทกภัย การสาธารณูปโภค หรือการป้องกันศัตรู ไม่พบหลักฐานสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ เป็นฐานเจดีย์ หรืออาคารขนาดเล็กก่อด้วยอิฐ ทั้งภายในและนอกเขตกําแพง เมือง แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณนั้นอยู่กระจายกันออกไปมิได้อยู่อาศัย เฉพาะภายในเขตกําแพงเมือง สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี สถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดี ล้วนแล้วแต่เป็นศาสนสถานทั้งสิ้น อาจ จําแนกได้ ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ศาสนสถานที่อยู่ในถ้ํา และศาสนสถาน กลางแจ้ง ศาสนสถานที่อยู่ในถ้ํา การใช้ถ้ําเป็นศาสนสถานน่าจะเกิดจากความ ต้องการใช้พื้นที่ธรรมชาติประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ด้วยการสร้าง ประติมากรรมรูปเคารพไว้ภายใน หรือสลักเป็นภาพนูนต่ําไว้บนผนังถ้ํา ก็ ถือว่าเป็นศาสนสถานได้ หรืออาจได้รับคติสืบทอดมาจากกลุ่มชนสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ตอนปลายที่ใช้ถ้ําสําหรับประกอบพิธีกรรม หรือได้รับอิทธิพล มาจากการใช้ถ้ําเป็นศาสนสถานของอินเดียที่เรียกว่า “เจติยสถาน” เป็น ถ้ําที่เจาะเข้าไปโดยฝีมือมนุษย์ ตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๓ - ๖ และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในสมัยคุปตะ เช่น ถ้ําอชันตา ถ้ํา เอลโลรา เป็นต้น ศาสนสถานที่อยู่ในถ้ําสมัยทวารวดีในภาคกลางมีอยู่หลาย แห่งด้วยกัน อาทิ ถ้ําฤาษี เขางู จังหวัดราชบุรี ถ้ําพระโพธิสัตว์ จังหวัดสระบุรี ถ้ําเขาถมอรัตน์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และถ้ําคูหาสวรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาคใต้ เป็นต้น ศาสนสถานกลางแจ้ง คือสถาปัตยกรรมที่พบอยู่โดยทั่วไป ทุกเมือง โบราณในสมัยทวารวดี ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธ เหลือเพียง ส่วนฐานเท่านั้น อาจเป็นส่วนฐานของสถูปหรือเจดีย์ ส่วนใหญ่มีแผนผังรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีรูปแบบพิเศษแตกต่างออกไปพบ บ้างเป็นจํานวนน้อย ได้แก่ ผังแปดเหลี่ยม และผังกลม

เจ้าของวัฒนธรรมทวารวดี

นายปอล เปลลิโยต์ (Paul Pelliot) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาดําเนินการขุดค้นทางโบราณคดีร่วมกับสมเด็จฯ กรมพระยาดํารง ราชานุภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ให้ข้อสันนิษฐานเป็นบุคคลแรกว่าเจ้าของ วัฒนธรรมทวารวดีเป็นชาวมอญ ทําให้ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (G. Cedes) ซึ่งให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับชนชาติมอญในอินโดจีน ได้ ทําการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งค้นพบหลักฐานจารึก ภาษามอญโบราณ ที่วัดโพธิ์ (ร้าง) จังหวัดนครปฐม อันเป็นจารึกภาษามอญ ที่เก่าที่สุดเท่าที่สํารวจพบในปัจจุบัน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จึงมี ความมั่นใจและสรุปว่า ชนชาติมอญที่เคยมีความสําคัญทางด้านประวัติ ศาสตร์พม่านั้น น่าจะเป็นผู้เผยแผ่วัฒนธรรมอินเดียทางตอนกลางของ อุษาคเนย์ รวมถึง ศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont) ภัณฑารักษ์ และนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ผู้ทําการขุดค้นโบราณสถานสําคัญสมัย ทวารวดีที่นครปฐม ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๓ จํานวน ๓ แห่งคือ เนิน พระ วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลประโทน ก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน จึงนําเสนอ ผลการศึกษาค้นคว้าเป็นวิทยานิพนธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ และตีพิมพ์เผยแพร่ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ในชื่อเรื่อง โบราณคดีมอญแห่งอาณาจักรทวารวดี (L'Archéologie Mône de Dvâravatî) นักวิชาการรุ่นหลังบางท่านให้ความเห็นว่า แม้ประชาชนชาวทวารวดี ที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย จะใช้ภาษามอญโบราณควบคู่ไปกับภาษาบาลีและสันสกฤต แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นชนกลุ่มเดียวกับชาวมอญที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศ พม่าตอนล่างหรือไม่ เนื่องจากรัฐทวารวดีมีความเก่าแก่กว่ารัฐมอญในพม่า และมีพัฒนาการมาจากชุมชนโบราณที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณภาคกลาง ตอนล่างของประเทศไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยอ้างถึงคําอธิบาย ของนักภาษาศาสตร์ว่า กลุ่มภาษามอญ-เขมรที่เป็นสาขาหนึ่งของภาษา ตระกูลออสโตรเอเชียติคนั้น เป็นภาษาเก่าแก่ของชุมชนในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จึงพบว่ามีการใช้กันอยู่ในกลุ่มชนหลายกลุ่มในภูมิภาคนี้ รวมถึง กลุ่มชนในรัฐทวารวดีด้วย อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านกลับเสนอแนวคิด อีกประเด็นหนึ่งว่า วัฒนธรรมทวารวดีอาจเป็นอารยธรรมระยะต้นของกลุ่ม ชนชาวมอญ ที่ขยายตัวเข้าไปยังตอนกลางของประเทศพม่า ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ เรื่องของกลุ่มชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมทวารวดีจึง ยังไม่เป็นที่ยุติในปัจจุบัน


Messenger