แนะนำหนังสือ เรือนเครื่องผูก
แนะนำหนังสือ เรือนเครื่องผูก
เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนปลูกสร้างอย่างง่ายๆ ใช้ตอกไม้ไผ่และหวายผูกรัดส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นรูปทรงที่อยู่อาศัยอย่างง่ายๆ มีองค์ประกอบในแต่ละส่วนที่สัมพันธ์กัน ซึ่งมีหน้าที่และความหมายในตัวเอง แสดงถึงความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายใกล้ชิดธรรมชาติ การนำธรรมชาติมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างลงตัว ยังสามารถพบเห็นเรือนเครื่องผูกได้ตามชนบท ซึ่งในปัจจุบันมีให้เห็นน้อยลง แต่โบราณ เรือนที่อยู่อาศัยของไทยมี 2 ประเภท คือ 1. เรือนเครื่องผูก เป็นการปลูกสร้างแบบง่ายๆ วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่และหวายผูกรัดเข้าด้วยกัน 2. เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนไม้จริง หรือเรียกว่าเรือนฝากระดาน ที่เรียกว่าเรือนเครื่องสับ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างในสมันก่อนยังไม่มีมากเหมือนสมัยนี้ เครื่องมือมีในใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ มีดเหน็บ หรือมีดตอกชนิดใหญ่ ผึ่ง ขวาน สิ่วชนิดต่างๆ เรือนเครื่องผูกจะปลูกสร้างตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะของภาคนั้นๆ แต่โครงสร้างจะเหมือนกันทุกๆ ภาค คือมีลักษณะไม่ใหญ่โตมากนัก ซึ่งหนังสือ เรือนเครื่องผูก จะถ่ายทอดความรู้ความรู้ในการสร้างเรือนแบบไทย ที่มีเทคนิควิธีการ มีชื่อเรียกและความหมายเฉพาะตัว จากภูมิปัญญาไทยไปสู่คนรุ่นลูกรุ่นหลาน
อ่านได้ที่ ห้องหนังสือทั่วไป2
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
แนะนำโดย นางสาวจารุภา อินยะบุตร.
เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนปลูกสร้างอย่างง่ายๆ ใช้ตอกไม้ไผ่และหวายผูกรัดส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นรูปทรงที่อยู่อาศัยอย่างง่ายๆ มีองค์ประกอบในแต่ละส่วนที่สัมพันธ์กัน ซึ่งมีหน้าที่และความหมายในตัวเอง แสดงถึงความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายใกล้ชิดธรรมชาติ การนำธรรมชาติมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างลงตัว ยังสามารถพบเห็นเรือนเครื่องผูกได้ตามชนบท ซึ่งในปัจจุบันมีให้เห็นน้อยลง แต่โบราณ เรือนที่อยู่อาศัยของไทยมี 2 ประเภท คือ 1. เรือนเครื่องผูก เป็นการปลูกสร้างแบบง่ายๆ วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่และหวายผูกรัดเข้าด้วยกัน 2. เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนไม้จริง หรือเรียกว่าเรือนฝากระดาน ที่เรียกว่าเรือนเครื่องสับ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างในสมันก่อนยังไม่มีมากเหมือนสมัยนี้ เครื่องมือมีในใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ มีดเหน็บ หรือมีดตอกชนิดใหญ่ ผึ่ง ขวาน สิ่วชนิดต่างๆ เรือนเครื่องผูกจะปลูกสร้างตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะของภาคนั้นๆ แต่โครงสร้างจะเหมือนกันทุกๆ ภาค คือมีลักษณะไม่ใหญ่โตมากนัก ซึ่งหนังสือ เรือนเครื่องผูก จะถ่ายทอดความรู้ความรู้ในการสร้างเรือนแบบไทย ที่มีเทคนิควิธีการ มีชื่อเรียกและความหมายเฉพาะตัว จากภูมิปัญญาไทยไปสู่คนรุ่นลูกรุ่นหลาน
อ่านได้ที่ ห้องหนังสือทั่วไป2
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
แนะนำโดย นางสาวจารุภา อินยะบุตร.
(จำนวนผู้เข้าชม 453 ครั้ง)