ช่างล้านนา
องค์ความรู้ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
เรื่อง "ช่างล้านนา" หลักฐานจากเอกสารโบราณ
“ล้านนา” ดินแดนที่มีอาณาเขตอยู่บริเวณแถบภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมขอบเขต ๘ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน เป็นอาณาจักรที่มีความเป็นมาและประวัติศาสตร์อันยาวนาน ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ด้วยพบหลักฐานวัตถุทางวัฒนธรรม ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้และผลงานศิลปกรรมตามแหล่งโบราณคดีต่างๆ รวมถึงมีวัฒนธรรมและประเพณีพื้นเมืองที่สะท้อนให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า ศิลปวัฒนธรรมล้านนา อันเป็นภูมิปัญญาของคนล้านนา ด้วยความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมล้านนาจากอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน เอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งนับว่าเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติคือ งานช่างล้านนา จากการศึกษาเอกสารโบราณทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย ศาสนา ภาษาและวรรณกรรม ทั้งจารึก พงศาวดาร ตำนาน คัมภีร์ใบลาน และวรรณกรรมพื้นบ้าน ปรากฏหลักฐานว่ามีการกล่าวถึงวิชาชีพช่างและงานช่างฝีมือหลายแขนงของล้านนาโบราณ
"ช่างล้านนา" ถือเป็นวิชาชีพที่มีมาตั้งแต่โบราณ ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารโบราณ ทั้งจารึก พงศาวดาร ตำนาน คัมภีร์ใบลาน และวรรณกรรมพื้นบ้านมากมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของช่างในสังคมล้านนาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน นับเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันเป็นสมบัติล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ สั่งสม และสืบทอดมาถึงคนรุ่นต่อรุ่น ที่ควรค่าแก่การสืบทอดและรักษาให้องค์ความรู้ภูมิปัญญาของช่างล้านนาทั้งในอดีตและปัจจุบันนี้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน เพราะงานช่างล้านนาไม่ได้แค่อาชีพของคนในท้องถิ่นเท่านั้น หากแต่ยังเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สะท้อนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของท้องถิ่นและประเทศชาติด้วยเช่นกัน
ผู้เรียบเรียง นางสาวสุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม (Full text) http://www.finearts.go.th/.../gmwkArCrf1IKN59cz2gma8mSLqw...
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
เรื่อง "ช่างล้านนา" หลักฐานจากเอกสารโบราณ
“ล้านนา” ดินแดนที่มีอาณาเขตอยู่บริเวณแถบภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมขอบเขต ๘ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน เป็นอาณาจักรที่มีความเป็นมาและประวัติศาสตร์อันยาวนาน ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ด้วยพบหลักฐานวัตถุทางวัฒนธรรม ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้และผลงานศิลปกรรมตามแหล่งโบราณคดีต่างๆ รวมถึงมีวัฒนธรรมและประเพณีพื้นเมืองที่สะท้อนให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า ศิลปวัฒนธรรมล้านนา อันเป็นภูมิปัญญาของคนล้านนา ด้วยความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมล้านนาจากอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน เอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งนับว่าเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติคือ งานช่างล้านนา จากการศึกษาเอกสารโบราณทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย ศาสนา ภาษาและวรรณกรรม ทั้งจารึก พงศาวดาร ตำนาน คัมภีร์ใบลาน และวรรณกรรมพื้นบ้าน ปรากฏหลักฐานว่ามีการกล่าวถึงวิชาชีพช่างและงานช่างฝีมือหลายแขนงของล้านนาโบราณ
"ช่างล้านนา" ถือเป็นวิชาชีพที่มีมาตั้งแต่โบราณ ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารโบราณ ทั้งจารึก พงศาวดาร ตำนาน คัมภีร์ใบลาน และวรรณกรรมพื้นบ้านมากมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของช่างในสังคมล้านนาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน นับเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันเป็นสมบัติล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ สั่งสม และสืบทอดมาถึงคนรุ่นต่อรุ่น ที่ควรค่าแก่การสืบทอดและรักษาให้องค์ความรู้ภูมิปัญญาของช่างล้านนาทั้งในอดีตและปัจจุบันนี้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน เพราะงานช่างล้านนาไม่ได้แค่อาชีพของคนในท้องถิ่นเท่านั้น หากแต่ยังเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สะท้อนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของท้องถิ่นและประเทศชาติด้วยเช่นกัน
ผู้เรียบเรียง นางสาวสุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม (Full text) http://www.finearts.go.th/.../gmwkArCrf1IKN59cz2gma8mSLqw...
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 1169 ครั้ง)