ความรู้เรื่อง เพลงกล่อมเด็กล้านนา
ความรู้เรื่อง เพลงกล่อมเด็กล้านนา
เพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะชนิดหนึ่ง โดยเป็นเพลงที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กใช้ร้องขับกล่อมให้เด็กฟังเพื่อให้เด็กนอนหลับสบาย ไม่งอแง พัฒนามาจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอนในสมัยก่อน ต่อมาจึงมีการใส่ทำนองเพลงช้าๆ เพื่อความไพเราะ และสร้างบรรยากาศให้เด็กหลับง่ายขึ้น สานสัมพันธ์ความรัก ความห่วงใยจากพ่อแม่สู่ลูก ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม วิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนผ่านบทเพลง
ในภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน มีปรากฏเพลงกล่อมเด็กอยู่ในวัฒนธรรมพื้นบ้านมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันช่วงเวลาแน่ชัด โดยลักษณะของเพลงกล่อมเด็กล้านนา ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยการร้อง "อื่อ จา จา" หรือ "อื่อ อื่อ จา จา" จึงมักเรียกว่า เพลงอื่อ คำว่า “อื่อ” หมายถึง เพลงที่ขับร้องโดยมีการส่งเสียงหึ่งจากลำคอให้ดังออกมาทางจมูก และมักจะทอดเสียงท้ายว่า ชา หรือ ชาชา เป็นทำนองต่างๆ เพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวล ชวนให้เด็กหลับได้ง่าย ปัจจุบัน เพลงอื่อ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เนื่องจากเป็นเพลงที่ใช้การจดจำสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ที่มีปรากฏส่วนมากมาจากคนรุ่นเก่าๆ ที่ได้สืบทอดไว้นั่นเอง
เรียบเรียงโดยนางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
เพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะชนิดหนึ่ง โดยเป็นเพลงที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กใช้ร้องขับกล่อมให้เด็กฟังเพื่อให้เด็กนอนหลับสบาย ไม่งอแง พัฒนามาจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอนในสมัยก่อน ต่อมาจึงมีการใส่ทำนองเพลงช้าๆ เพื่อความไพเราะ และสร้างบรรยากาศให้เด็กหลับง่ายขึ้น สานสัมพันธ์ความรัก ความห่วงใยจากพ่อแม่สู่ลูก ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม วิถีชีวิตของคนในสมัยก่อนผ่านบทเพลง
ในภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน มีปรากฏเพลงกล่อมเด็กอยู่ในวัฒนธรรมพื้นบ้านมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันช่วงเวลาแน่ชัด โดยลักษณะของเพลงกล่อมเด็กล้านนา ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยการร้อง "อื่อ จา จา" หรือ "อื่อ อื่อ จา จา" จึงมักเรียกว่า เพลงอื่อ คำว่า “อื่อ” หมายถึง เพลงที่ขับร้องโดยมีการส่งเสียงหึ่งจากลำคอให้ดังออกมาทางจมูก และมักจะทอดเสียงท้ายว่า ชา หรือ ชาชา เป็นทำนองต่างๆ เพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวล ชวนให้เด็กหลับได้ง่าย ปัจจุบัน เพลงอื่อ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เนื่องจากเป็นเพลงที่ใช้การจดจำสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ที่มีปรากฏส่วนมากมาจากคนรุ่นเก่าๆ ที่ได้สืบทอดไว้นั่นเอง
เรียบเรียงโดยนางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 1831 ครั้ง)