เรื่องเล่าอำแดงนากหรือนางนากหญิงชาวพระโขนงตายทั้งกลมโดยศพนางนากถูกฝังในป่าช้า คลองพระโขนง แต่ด้วยความรักที่มีต่อสามีนางนากได้แปลงร่างเป็นคนอาศัยอยู่กินกับสามี ในที่สุดได้มีพระมาปราบผีนางนากจนสิ้นฤทธิ์นับแต่นั้นตำบลพระโขนงก็กลับคืนสู่ความสงบสุขอีกครั้ง หลังจากนั้นเรื่องเล่าแม่นาคได้ถูกนำมาสร้างในรูปแบบสื่อประเภทต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ละครเวที ละครเพลง นิยาย และเรื่องสั้น ซึ่งภาพยนตร์แม่นาคเรื่องแรก คือเรื่องนางนาคพระโขนง สร้างขึ้นในปีพ.ศ. ๒๔๗๖ มีระบบการถ่ายทำ เป็นภาพยนตร์เงียบ ขาว-ดำ และใช้ฟิล์ม ๓๕ มม. ฉายที่ ศาลาเฉลิมบุรี โดยหม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ เป็นผู้กำกับ และ ร.วุธาทิตย์ เป็นผู้ประพันธ์ ในการนี้จึงรวบรวมภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องแม่นาคไว้เป็นหัวข้อภาพยนตร์เรื่องเล่า...เล่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแม่นาค สำหรับในอนาคตนั้นตำนานแม่นาคพระโขนงก็ยังคงเป็นเรื่องเล่าอย่างสืบไป เพียงแต่จะนำเสนอในสื่อต่างๆ ในรูปแบบใดเท่านั้นเอง
เรียบเรียงและรวบรวมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
แหล่งอ้างอิง :
ชิษณุพงศ์ แจ่มปัญญา. “ผีแม่นากพระโขนง” อุบายของบุตรที่มิอยากให้บิดามีเมียใหม่ ?. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕,
จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_34905, ๒๕๖๓.
ไทยบันเทิง. ไทยบันเทิง ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕,
จาก https://thaibunterng.fandom.com/th/wiki/ไทยบันเทิง.
ศิลปวัฒนธรรม. “แม่นาก” ผีชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พระผู้ใหญ่ได้อย่างไร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕,
จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_22373, ๒๕๖๕.
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน). ภาพยนตรานุกรมแห่งชาติที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๙๙. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (มหาชน), ๒๕๕๗.
เอนก นาวิกมูล. เปิดตำนานแม่นากพระโขนง. กรุงเทพฯ : โนรา, ๒๕๔๓.
เอนก นาวิกมูล. แม่นากภาคสมบูรณ์ (ปกแข็ง). กรุงเทพฯ : แสงดาว, ๒๕๖๕.
Thai Movie Posters. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๕, จาก https://www.facebook.com/ThaiMoviePosters.
(จำนวนผู้เข้าชม 12686 ครั้ง)