ประเพณีสงกรานต์ = Songkran Tradition
ชื่อเรื่อง : ประเพณีสงกรานต์ = Songkran Tradition
ผู้แต่ง : บุญเตือน ศรีวรพจน์
สำนักพิมพ์ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ปีพิมพ์ : 2564
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-543-698-4
เลขเรียกหนังสือ : 394.2623 บ452ป
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1
สาระสังเขป : สงกรานต์ เป็นประเพณีสำคัญที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานในแถบประเทศดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับวัฒนธรรมการขึ้นปีใหม่ในวันมหาสงกรานต์จากอินเดีย สำหรับในประเทศไทยตำนานสงกรานต์ที่แพร่หลายอยู่นั้น พบว่าหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดคือ จารึกเรื่องมหาสงกรานต์ (สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวทรงบูรณะพระอาราม ปี พ.ศ.2374) การกำหนดวันสงกรานต์มีอยู่ 3 วัน ได้แก่ วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก ซึ่งคนไทยได้ยึดวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม (1 มกราคม ของทุกปี) โดยกิจกรรมทั่วไปในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นิยมเล่นน้ำ ประแป้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เข้าวัดทำบุญ ตักบาตร สรงน้ำพระ ท่องเที่ยว เดินทางกลับภูมิลำเนา กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกัน แต่สำหรับ 2 ปีที่ผ่านมาด้วยสภานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยและหลายประเทศ ได้มีการงดเล่นน้ำและงดจัดกิจกรรมหลายๆ อย่างที่เสี่ยงการแพร่ระบาด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 แต่ความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ก็มิได้ลดน้อยลง ด้วยประเพณีสงกรานต์ถือเป็นมรดกวัฒนธรรมร่วมของชาติในอาเซียน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ตระหนักถึงคุณค่าของประเพณีสงกรานต์ จึงได้รวบรวมและจัดพิมพ์หนังสือประเพณีสงกรานต์ โดยนำเสนอเนื้อหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมภาพประกอบสีสวยงามเกี่ยวกับความหมายและที่มาของประเพณีสงกรานต์ (วันขึ้นปีใหม่ดั้งเดิมในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำนานวันสงกรานต์ คำทำนายเกี่ยวกับวันสงกรานต์ นางสงกรานต์ทั้ง 7 วัน ฯลฯ) พระราชพิธีสงกรานต์ (สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 5 สมัยรัชกาลที่ 8 การฟื้นฟูพระราชพิธีสงกรานต์) ประเพณีสงกรานต์ของไทย (ทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระ ก่อพระทราย ปล่อยนกปล่อยปลา บังสุกุลอัฐิ สรงน้ำพระ สรงน้ำผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำ สงกรานต์เฉพาะถิ่น ฯลฯ) และ สงกรานต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กัมพูชา ลาว พม่า ชนชาติไท) เพื่อร่วมกันจรรโลงรักษาวัฒนธรรมอันเป็นสมบัติที่ชนในชาติร่วมกันเป็นเจ้าของให้คงอยู่และสืบไปอย่างถาวร
(จำนวนผู้เข้าชม 4715 ครั้ง)