...

หนังสือช่างไทยสิบหมู่ "ช่างกลึง ช่างไส"


     ชื่อเรื่อง :
หนังสือช่างไทยสิบหมู่ "ช่างกลึง ช่างไส"

     ผู้เขียน : สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

     สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

     ปีพิมพ์ : 2561

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-283-438-7

     เลขเรียกหนังสือ : 709.593 ศ528ห

     ประเภทหนังสือ : หนังสือที่จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1 


สาระสังเขป : งานช่างกลึงและช่างไสจัดเป็นกลุ่มงานช่างเก่าแก่สืบทอดมาแต่สมัยโบราณก่อนการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย จากนักโบราณคดีได้ขุดพบหลักฐานเป็นวัตถุโบราณที่เกิดขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ โดยใช้กรรมวิธีงานกลึงขึ้นรูปด้วยเทคนิคที่เกิดขึ้นในยุคนั้นๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะใช้สอย อาวุธเครื่องสำริดบางชิ้นและเครื่องดนตรีหรือเครื่องที่ทำให้เกิดสัญญาณเสียงสัญญาณ เช่น กลองมโหระทึก เป็นต้น ส่วนงานช่างไสมีปรากฏในโบราณสถานและโบราณวัตถุ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และปูน เช่น สถูปเจดีย์ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา โดยงานประเภทนี้มีการใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานอยู่ในทั่วทุกประเทศจากหลักฐานที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีปรากฏอยู่ ตลอดจนเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ งานช่างกลึงและช่างไสได้มีพัฒนาการมาอย่างเป็นลำดับจัดเป็นส่วนหนึ่งของงานช่างสิบหมู่ โดยหนังสือช่างไทยสิบหมู่ "ช่างกลึง ช่างไส" เป็นการรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับงานช่างกลึงและช่างไส ทั้งประวัติความเป็นมาของงานช่างกลึง ความหมายของการกลึง แบบและวิธีการกลึง วัสดุที่ใช้ในงานกลึง เครื่องมือในงานกลึงไม้และงาช้าง กระบวนการทำงานกลึงไม้และงาช้าง งานกลึงโลหะ งานกลึงหิน งานกลึงแกนในเพื่อหล่อโลหะ งานกลึงปูน การกลึงดินขึ้นรูป งานไส วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานไส งานไสไม้ งานไสปูน รูปแบบสำหรับงานกลึงและงานไส ประโยชน์ของงานกลึงและงานช่างไส นอกจากนี้ยังนำเสนอวิวัฒนาการของงานช่างกลึงและช่างไสที่มาโดยตลอด เริ่มต้นจากการใช้แรงงานคนจนปัจจุบันมีเครื่องจักรและเครื่องกลทุ่นแรง นอกจากรูปลักษณะแบบโบราณแล้วยังมีพัฒนาการให้ทันสมัย น่าสนใจและน่าใช้ยิ่งขึ้น ซึ่งกรมศิลปากรได้ดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้จากภายนอก และจากประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานมาเผยแพร่สำหรับให้ได้ศึกษางานช่างโบราณอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติแขนงหนึ่ง เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ทั้งในด้านการสร้างสรรค์และประวัติศาสตร์งานช่างของไทย รวมทั้งเพื่อรักษาและสืบทอดให้ยืนยาวสืบไป

(จำนวนผู้เข้าชม 1331 ครั้ง)


Messenger