คู่มือเอาชีวิตรอดในที่ทำงาน
ชื่อเรื่อง : คู่มือเอาชีวิตรอดในที่ทำงาน
ผู้เขียน : โนริกะ โอดะ
สำนักพิมพ์ : กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป
ปีพิมพ์ : 2563
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-8158-77-7
เลขเรียกหนังสือ : 158.7 อ969ค
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป 1
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1
สาระสังเขป : "อยู่ให้เป็นก่อนเริ่มต้นชีวิตการทำงาน สิ่งที่ต้องเรียนรู้เพื่อให้ชีวิตการทำงานอยู่รอด ทัศนคติใหม่ๆ ในการทำงาน" คำกล่าวของนักเขียนที่เป็นทั้งนักสร้างกิจการ ต่อเนื่อง บล็อกเกอร์ผู้มีชื่อเสียง ถูกสัมภาษณ์จากสื่อใหญ่หลายสื่อ อีกทั้งเขียนคอลัมน์พิเศษให้กับสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง แชร์ประสบการณ์จริงจากประสบการณ์ทำงานกว่า 20 ปี ปัจจุบันก่อตั้งบริษัทของตัวเอง เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานระดับล่างเงินเดือนต่ำ ระหว่างเส้นทางการก่อสร้างบริษัทครั้งที่ 4 เต็มไปด้วยการต่อสู้และหยาดน้ำตา แต่ละย่างก้าวล้วนมีข้อคิดและบทเรียนให้ได้เพิ่มพูนสั่งสมประสบการณ์การทำงานและเต็มไปด้วยความมานะพยายามลงมือทำให้เป็นจริง ในโลกความเป็นจริงของการทำงานมักที่จะเลี่ยงกับการถูกตำหนิไม่ได้ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มเข้าสังคมการทำงานและยังไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมในที่ทำงาน เกิดความรู้สึกต่อต้านการทำงาน ความเครียด ความกดดัน ความขัดแย้งที่ถาโถมเข้ามาจนอาจทำให้ลาออกกันเลยที่เดียว "คู่มือเอาชีวิตรอดในที่ทำงาน" เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมเรื่องราวของการอยู่ให้เป็นก่อนเริ่มต้นชีวิต การทำงาน และก้าวผ่านสถานการณ์แย่ๆ นั้นไปได้ โดยเนื้อหาภายในเล่ม ประกอบด้วย (1) ที่ทำงานเหมือนสนามรบ หากคิดจะอยู่ให้รอดเหมือนปลาได้น้ำ ก็ต้องได้ใจหัวหน้าเสียก่อน เช่น เด็กใหม่น่าแกล้ง มันจำเป็นไหมที่ต้องช่วยสั่งข้าวกล่องให้ทุกครั้ง ทำงานเสร็จหมดแล้วแต่ไม่กล้ากลับบ้านก่อนหัวหน้า ทำไงดี? โดนสั่งให้ทำงานที่มันไม่ใช่ จะก้มหน้ายอมรับหรือยืดอกปฏิเสธดี เป็นต้น (2) ต้องทั้งวางแผนทั้งวางอุบาย อยากอยู่อย่างผู้ชนะก็จะต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน เช่น เห็นคนอื่นนินทาแล้วขัดหูขัดตา แต่ถ้าไม่ร่วมวงจะเป็นตัวประหลาดไหม ผลงานของทั้งแผนกไม่ดี เรื่องอะไรมาโยนความผิดให้ฉันคนเดียว ไม่ได้เจตนาจะแย่งความดีความชอบ แต่งานนี้ผลงานฉันคนเดียวจริงๆ! เป็นต้น และ (3) เส้นสายก็คือเส้นทางการเงิน อยากให้ลูกค้าเชื่อมั่นและยอมรับในตัวคุณ จงเริ่มต้นจากการรับฟังและสร้างหีบห่อให้ตัวเองเสียก่อน เช่น มันเป็นขั้นตอนและระเบียบของบริษัท ทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้าใจ ชอบติดต่อตอนเลิกงานหรือเวลาพักผ่อน ฉันรอตอบกลับในเวลาทำงานได้ไหม ลูกค่าคิดแต่จะให้ลดราคา ฉันควรยืนอยู่ฝั่งบริษัทหรือฝั่งลูกค้าดี เป็นต้น ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งประสบการณ์ที่ได้นำมาถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้นำมาปรับใช้กับสถานการณ์ที่พบเจอในที่ทำงาน ลองเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสรับรองว่าจะผ่านทุกๆ ปัญหาไปได้
(จำนวนผู้เข้าชม 851 ครั้ง)