หนังสือเล่มเล็ก
ชื่อเรื่อง : หนังสือเล่มเล็ก ผลงานนักเรียนรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในงานศิลป หัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ ๖๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ (ชุดส่งเสริมการอ่านและการเขียน)
ผู้เขียน : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักพิมพ์ : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีพิมพ์ : ๒๕๖๐
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๓๙๕-๘๖๑-๗
เลขเรียกหนังสือ : ๐๗๐.๕๗๓ ค๑๒๑ห
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑
สาระสังเขป : งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนเริ่มตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแนะนำ จูงใจให้เด็กและเยาวชนได้เอาใจใส่ฝึกหัดงานศิลปหัตถกรรมให้เกิดความชำนาญ มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมวิชาการฝีมือ มุ่งส่งเสริมฝีมือเพื่อเป็นอาชีพแก่นักเรียนให้ใช้เวลาว่างเกิดประโยชน์ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใหญ่เห็นความสำคัญของเด็กและเยาวชน ได้มีการจัดกิจกรรม การแข่งขันการทำหนังสือเล่มเล็กขึ้นเป็นหนึ่งในกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดย "หนังสือเล่มเล็ก ผลงานนักเรียนรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ ๖๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ (ชุดส่งเสริมการอ่านและการเขียน) เป็นหนังสือที่นำเสนอสาระเรื่องราวที่นักเรียนได้สร้างสรรค์ตามหัวข้อที่ได้รับ พร้อมทั้งภาพประกอบสี อีกทั้งมีรายละเอียดวิธีการทำหนังสือเล่มเล็กแก่ครู นักเรียน และผู้ที่สนใจในการจัดทำหนังสือเล่มเล็กด้วย ซึ่งเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยหนังสือเล่มเล็กที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่ ๑-๓ จาก ๔ ระดับชั้น รวมจำนวน ๑๒ เล่ม คือ (๑) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้แก่ จ๋อรู้คุณ ของขวัญล้ำค่า และ หาบหนังสือร่ำลือเรื่องราว (๒) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้แก่ บุญรักษา จิตใต้สำนึก และ รู้รักกตัญญู (๓) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ สังกัดสำนักงานเขตพท้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ได้แก่ ธรรมดีที่พ่อทำ กลับใจ และ การกระทำของแก่น (๔) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ได้แก่ ต้องมนต์สงกรานต์ ภาพวันนั้น และ ของดีที่บ้านฉัน พร้อมกันนี้ยังได้จัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ใช้เป็นช่องทางให้ผู้อ่านได้หาอ่านอย่างสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์การแข่งขันการทำหนังสือเล่มเล็ก และผลการแข่งขันกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการแข่งขันการทำหนังสือเล่มเล็ก เพื่อเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์แก่ครู นักเรียนและผู้ที่สนใจในการฝึกทักษะการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก อีกทั้งเพื่อใช้ในการเป็นสื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการเขียนได้เป็นอย่างดี
(จำนวนผู้เข้าชม 10145 ครั้ง)