...

๑.๐๐๙ เล่ม วรรณกรรมเกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์ เล่ม ๑ และ เล่ม ๒
 

     
     ชื่อเรื่อง :
๑,๐๐๙ เล่ม วรรณกรรมเกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์ เล่ม ๑ และ เล่ม ๒

     ผู้เขียน : ชมัยพร บางคมบาง และคนอื่นๆ 

     สำนักพิมพ์ : แปลน พริ้นท์ติ้ง

     ปีพิมพ์ : ๒๕๖๒

     เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : - 

     เลขเรียกหนังสือ : ๐๒๘ ห๑๗๔ ล.๑ และ ๐๒๘ ห๑๗๔ ล.๒

     ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป

     ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑




สาระสังเขป : การอ่านสำหรับเยาวชนถือเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่านและสร้างบรรยากาศการรักการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มี            การประกาศให้เมืองหลวงของประเทศไทยเป็นเมืองแห่งการอ่านจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันนับว่าการอ่านถือเป็นวาระแห่งชาติประการหนึ่งที่ต้องมีการสนับสนุนให้เกิดขึ้นในประเทศชาติ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้จัดโครงการเชิญชวนเยาวชนไทยอ่านวรรณกรรมไทย วรรณกรรมโลก ๑,๐๐๙ เล่ม วรรณกรรมเกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์ ซึ่งเป็นวรรณกรรมร่วมสมัยทั้งที่เป็นภาษาไทยและวรรณกรรมทุกภาษาที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย         โดยมีเนื้อหาที่เป็นไปเพื่อการเกื้อกูลมนุษย์และเกื้อกูลโลก เหมาะสำหรับเด็กในช่วงอายุ ๑๒-๑๘ ปี ซึ่งได้นำรายชื่อหนังสือมารวบรวมและจัดทำบรรณนิทัศน์พิมพ์เป็นรูปเล่ม เป็น ๒ เล่ม จำนวนทั้งหมด ๑,๐๐๙ เล่ม โดยจัดแบ่งเป็น ๘ ประเภท ประกอบด้วย (๑) กวีนิพนธ์ไทย เช่น คร่าวร่ำ ๗๐๐ ปี เมืองเชียงใหม่ (มณี พยอมยงค์) บนผืนแผ่นดินเกิด (วรวุฒิ ภักดีบุรุษ) เป็นต้น (๒) กวีนิพนธ์แปล เช่น ขุนเขายะเยือก (ฮั่นซาน/ผู้แปล พจนา จันทรสันติ) ฉันยังมีขาอีกข้างหนึ่ง (โจวต้ากวน/ผู้แปล เรืองรอง รุ่งรัศมี) เป็นต้น (๓) สารคดีไทย เช่น คูณดอกสุดท้าย (จุลินทร์ ศรีสะอาด) ผ่านพบไม่ผูกพัน (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล) เป็นต้น (๔) สารคดีแปล เช่น ความงามข้ามกาลเวลา (จอห์น เลน/ผู้แปล สดใส ขันติวรพงศ์) ปกรณัมปรัมปรา (เอเดิธ แฮมิลตัน/ผู้แปล นพมาส แววหงส์) เป็นต้น (๕) เรื่องสั้นไทย เช่น จดหมายจากชายชราตาบอด (ประภัสสร เสวิกุล) รถไฟชั้นห้า (กานติ ณ ศรัทธา) (๖) เรื่องสั้นแปล เช่น เรื่องเล่าของซากี (ซากี/ผู้แปล สุจินดา ตุ้มหิรัญ) หอสมุดแห่งบาเบล สวนแห่ง ทางแพร่ง และเรื่องสั้นอื่นๆ (ฆอรเฆ ลูอิส บอรเฆส/ผู้แปล สิงห์ สุวรรณกิจ) เป็นต้น (๗) นวนิยายไทย เช่น มิตรภาพสองฝั่งโขง (เขมชาติ) อสรพิษ (แดนอรัญ แสงทอง) เป็นต้น และ (๘) นวนิยายแปล เช่น ต้นส้มแสนรัก (โจเซ่ วาสคอนเซลอส/ผู้แปล มัทนี เกษกมล) สี่ปีในนรกเขมร (ยาสึโกะ นะอิโตะ/ผู้แปล ผุสดี นาวาวิจิต) เป็นต้น รวมทั้งมีบทสัมภาษณ์พิเศษ : หนังสือในดวงใจเมื่อวัยเยาว์ของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (พนมเทียน) สุกัญญา ชลศึกษ์ (กฤษณา อโศกสิน) ศุ บุญเลี้ยง วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง สุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นต้น   

(จำนวนผู้เข้าชม 739 ครั้ง)


Messenger