องค์ความรู้ : วัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนาไทย
เรื่อง โคมล้านนา
งานประเพณียี่เป็งของชาวล้านนาจะทำการประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือน วัด สถานที่ราชการ และสถานที่เอกชน ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีป การจุดโคมไฟ หรือโคมล้านนา สำหรับโคมล้านนาเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวล้านนาและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมา โดยชาวล้านนาจะประดิษฐ์โคมล้านนาในรูปลักษณะต่างๆ เช่น โคมดาว โคมผัด โคมแปดเหลี่ยม โคมหูกระต่าย โคมไห โคมรังมดส้มหรือโคมเสมาธรรมจักร เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือนมีหลากหลายรูปแบบตามแต่ละภูมิปัญญาของท้องถิ่น โคมล้านนาจะใช้ไม้ไผ่เหี้ย และไผ่ข้าวหลามมาสานขึ้นโครง เป็นตะกร้า หรือชะลอม จากนั้นนำกระดาษสา กระดาษแก้ว หรือผ้าดิบมาปิดทับโครงนั้น แล้วจึงตัดกระดาษสีเงิน สีทอง เป็นลวดลายลายสไตล์ล้านนาประดับตกแต่งลงไปอย่างสวยงาม แล้วจุดไฟลงไปในผางประทีป หรือน้ำมันไข เพื่อให้เกิดแสงสว่างในยามค่ำคืน
สำหรับจุดมุ่งหมายของโคมล้านนาเป็นการให้แสงสว่างในยามค่ำคืน และยังถวายเป็นพุทธบูชาในประเพณีสำคัญต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันออกพรรษา เป็นต้น โดยการบูชาโคมล้านนามีความเชื่อว่าจะนำความสว่างไสวให้เกิดแก่ชีวิต สร้างความเป็นสิริมงคล ความเจริญ ความสุข แสงของโคมนำทางสู่สติปัญญาให้แก่เจ้าของบ้านและคนในครอบครัว เปรียบเสมือนแสงทางส่องชีวิตต่ออายุของผู้ถวายโคมไฟเพื่อเป็นพุทธบูชา และถ้าหากเกิดมาชาติหน้าจะเป็นบุคคลที่มีความฉลาดเฉลียว เปรียบดั่งแสงของเปลวไฟที่ลุกโชติช่วงท่ามกลางความมืดมืด ต่อมาในภายหลังจึงมีการประดิษฐ์โคมในลักษณะรูปร่างต่างๆ ตามยุคตามสมัย แต่ยังคงเป็นการสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนาให้คงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน
เรียบเรียงและรวบรวมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
แหล่งอ้างอิง :
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. การทำโคม ๘ เหลี่ยมล้านนา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก https://www.youtube.com/watch?v=jPDqK3lN1sQ&t=4s, ๒๕๖๑.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การทำโคมล้านนา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก https://www.youtube.com/watch?v=qucvVMJB6kg, ๒๕๕๖.
ไทยพีบีเอส. ทั่วถิ่นแดนไทย : บุญแห่งศรัทธาล้านนาประเพณียี่เป็ง จ.เชียงใหม่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก https://www.youtube.com/watch?v=SYn7SM16WlI, ๒๕๕๗.
บริษัท ป่าใหญ่ ครีเอชั่น จำกัด. ทุ่งแสงตะวัน ตอนโคมล้านนา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก https://www.youtube.com/watch?v=IAdOKgYmFRc&t=2s, ๒๕๔๔.
พระครูสถิตธรรมาภินันท์ (จันทร์ กลฺยาณธมฺโม). ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณียี่เป็งของล้านนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๒.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่.
ประเพณียี่เป็ง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก https://www.finearts.go.th/chiangmaimuseum/view/21724-ประเพณียี่เป็ง, ๒๕๖๓.
มหาวิทยาลัยสู่ตำบล #Rimping. กลุ่มโคมล้านนาตำบลริมปิง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก https://www.youtube.com/watch?v=TPthBfuaRmE&t=3s, ๒๕๖๔.
ล้านนาเวย์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก http://www.lannaway.com/home/web
ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การทำโคมยี่เป็ง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๔,
จาก http://lannainfo.library.cmu.ac.th/lannatradition/yeepeng-chomyeepeng.php
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. โคมผัด โคมยี่เป็งโบราณ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก https://art-culture.cmu.ac.th/lanna/articledetail/1919, ๒๕๖๓.
โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา. สารคดีส่งเสริมความรู้ชุดปัญญาพื้นถิ่น ตอน โคมล้านนา. [ซีดี-รอม]. เชียงใหม่ : โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, ๒๕๔๕.
ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก. ไทยศิลป์ : โคมล้านนา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก https://www.youtube.com/watch?v=BndUNYXcCRk&t=1s, ๒๕๖๔.
lampssky. โคมล้านนา มรดกของชาวเหนือ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก https://lampssky.com/โคมล้านนา-มรดกของชาวเหน
(จำนวนผู้เข้าชม 4941 ครั้ง)