พระโพธิสัตว์ทำผมทรงเดรดล็อค
#พิพิธ(สาระ)ภัณฑ์ ตอน #พระโพธิสัตว์ทำผมทรงเดรดล็อค!?
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะทวารวดี ที่พบที่เมืองโบราณคูบัว ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี มีทรงผมที่คล้ายกับผมทรงเดรดล็อค ซึ่งมีลักษณะเป็นการนำผมมาถักเป็นกลุ่มตามความยาวของผม เป็นทรงผมที่ได้รับความนิยมใน กลุ่มคนผิวสี วัยรุ่น นักร้องในสไตล์เร็กเก และแร็ป
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรดินเผา ศิลปะทวารวดี ที่พบที่เมืองโบราณคูบัว โดยทั้ง 2 องค์ มีลักษณะพระเกศาเป็นกลุ่มช่อ เกล้ามวยแบบชฎามกุฏ มีเส้นผมคาดในแนวนอน และเกล้าพระเกศาเป็นมวยกลางพระเศียร ประดับพระอาธิพุทธเจ้าอมิตาภะปางสมาธิที่ด้านหน้ามวยพระเกศา ปลายพระเกศาสยายลงมาที่ยังพระอังสา (ไหล่) ทั้งสองข้าง นอกจากนี้ยังพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในศิลปะศรีวิชัย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันในด้านรูปแบบกับศิลปะทวารวดี ที่มีลักษณะทรงผมคล้าย ๆ กัน มีลักษณะเป็นทรงเกล้าครึ่งหนึ่งของพระเศียร และอีกครึ่งหนึ่งปล่อยลงพาดอังสา (บ่า) และพระปฤษฎางค์ (หลัง) ลักษณะเส้นผมม้วนเป็นกลุ่มช่อ
เมื่อพิจารณาโดยรูปแบบจากประติมากรรมในสมัยคุปตะที่เป็นต้นทางในการส่งอิทธิพลรูปแบบศิลปะให้แก่ศิลปะทวารวดี พบว่ามีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่มีลักษณะทรงผมในรูปแบบเดียวกัน จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป็นทรงผมที่มีต้นเค้ามาจากศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะ และเมื่อพิจารณาตามลักษณะทางประติมานวิทยา โดยเปรียบเทีียบกับประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย และศิลปะคุปตะของอินเดีย พบว่าลักษณะของผมขอดแบบม้วนโรลตามลักษณะผมของคนอินเดีย ไม่ได้มีการถักเส้นผมให้เป็นกลุ่มก้อนเหมือนทรงผมเดรดล็อค แต่อย่างใด
#พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร #เดรดล็อค
เนื้อหาและศิลปกรรม: นางสาวกศิภา สุรินทราบูรณ์
นิสิตฝึกงาน จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะทวารวดี ที่พบที่เมืองโบราณคูบัว ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี มีทรงผมที่คล้ายกับผมทรงเดรดล็อค ซึ่งมีลักษณะเป็นการนำผมมาถักเป็นกลุ่มตามความยาวของผม เป็นทรงผมที่ได้รับความนิยมใน กลุ่มคนผิวสี วัยรุ่น นักร้องในสไตล์เร็กเก และแร็ป
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรดินเผา ศิลปะทวารวดี ที่พบที่เมืองโบราณคูบัว โดยทั้ง 2 องค์ มีลักษณะพระเกศาเป็นกลุ่มช่อ เกล้ามวยแบบชฎามกุฏ มีเส้นผมคาดในแนวนอน และเกล้าพระเกศาเป็นมวยกลางพระเศียร ประดับพระอาธิพุทธเจ้าอมิตาภะปางสมาธิที่ด้านหน้ามวยพระเกศา ปลายพระเกศาสยายลงมาที่ยังพระอังสา (ไหล่) ทั้งสองข้าง นอกจากนี้ยังพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในศิลปะศรีวิชัย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันในด้านรูปแบบกับศิลปะทวารวดี ที่มีลักษณะทรงผมคล้าย ๆ กัน มีลักษณะเป็นทรงเกล้าครึ่งหนึ่งของพระเศียร และอีกครึ่งหนึ่งปล่อยลงพาดอังสา (บ่า) และพระปฤษฎางค์ (หลัง) ลักษณะเส้นผมม้วนเป็นกลุ่มช่อ
เมื่อพิจารณาโดยรูปแบบจากประติมากรรมในสมัยคุปตะที่เป็นต้นทางในการส่งอิทธิพลรูปแบบศิลปะให้แก่ศิลปะทวารวดี พบว่ามีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่มีลักษณะทรงผมในรูปแบบเดียวกัน จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป็นทรงผมที่มีต้นเค้ามาจากศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะ และเมื่อพิจารณาตามลักษณะทางประติมานวิทยา โดยเปรียบเทีียบกับประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย และศิลปะคุปตะของอินเดีย พบว่าลักษณะของผมขอดแบบม้วนโรลตามลักษณะผมของคนอินเดีย ไม่ได้มีการถักเส้นผมให้เป็นกลุ่มก้อนเหมือนทรงผมเดรดล็อค แต่อย่างใด
#พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร #เดรดล็อค
เนื้อหาและศิลปกรรม: นางสาวกศิภา สุรินทราบูรณ์
นิสิตฝึกงาน จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
(จำนวนผู้เข้าชม 2447 ครั้ง)