สะพานจุฬาลงกรณ์
สะพานจุฬาลงกรณ์
สะพานรถไฟแห่งแรกของเมืองราชบุรี
สะพานรถไฟที่ยาวที่สุดในสยามประเทศ
ทางรถไฟเมืองราชบุรี จัดเป็นทางรถไฟหลวงสายตะวันตกของสยามก่อนจะผนวกรวมเป็นทางรถไฟสายใต้ในปัจจุบัน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงโยธาธิการ ซึ่งมีกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน 2443 แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2445
.
เส้นทางการเดินรถ เริ่มตั้งแต่สถานีบางกอกน้อย ตรงไปทางตะวันตกใกล้แนวคลองมหาสวัสดิ์ ข้ามแม่น้ำท่าจีนที่สะพานเสาวภา ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำแม่กลองที่บ้านโป่ง เลี้ยวลงไปทางทิศใต้เลียบใกล้ฝั่งแม่น้ำและข้ามแม่น้ำแม่กลองที่ช่วงเมืองราชบุรี ที่สะพานจุฬาลงกรณ์ แล้วตรงไปตามทางจนถึงเมืองเพชรบุรี รางรถไฟมีความกว้าง 1 เมตร และมีความยาวทั้งสิ้น 151 กิโลเมตร ในระหว่างเส้นทางดังกล่าวต้องสร้างสะพานรถไฟข้ามคลองและแม่น้ำถึง 3 แห่ง ได้แก่
1. สะพานข้ามคลองตลิ่งชัน
2. สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (#สะพานเสาวภา)
3. สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองช่วงเมืองราชบุรี (#สะพานจุฬาลงกรณ์)
.
สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองช่วงผ่านเมืองราชบุรีสร้างเมื่อ พ.ศ. 2444 ทางเดินรถแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 50 เมตร มีระยะทางทั้งสิ้น 150 เมตร นับได้ว่าเป็นสะพานรถไฟที่ยาวที่สุดของสยามประเทศ ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานชื่อว่า #สะพานจุฬาลงกรณ์ ตามพระนามของพระองค์ และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดทางรถไฟอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2446
.
ปัจจุบันมีก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ และมีการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองซึ่งเป็นสะพานคานขึง (Extradose Bridge) คือ การผสมผสานระหว่างสะพานขึงและสะพานคอนกรีตที่ใช้สายเคเบิ้ลในการช่วยรับแรง เป็นสะพานรถไฟคู่ขนานกับสะพานจุฬาลงกรณ์ที่เป็นสะพานรถไฟเดิม สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองที่ก่อสร้างอยู่จะเป็นสะพานรถไฟคานขึงที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และอาจจะขึ้นแท่นเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมืองราชบุรีในอนาคตอีกด้วย
เรียบเรียง และศิลปกรรม : นางสาวธนาภรณ์ พันธ์ประเสริฐ นิสิตฝึกงาน มหาวิทยาลัยบูรพา
สะพานรถไฟแห่งแรกของเมืองราชบุรี
สะพานรถไฟที่ยาวที่สุดในสยามประเทศ
ทางรถไฟเมืองราชบุรี จัดเป็นทางรถไฟหลวงสายตะวันตกของสยามก่อนจะผนวกรวมเป็นทางรถไฟสายใต้ในปัจจุบัน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงโยธาธิการ ซึ่งมีกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน 2443 แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2445
.
เส้นทางการเดินรถ เริ่มตั้งแต่สถานีบางกอกน้อย ตรงไปทางตะวันตกใกล้แนวคลองมหาสวัสดิ์ ข้ามแม่น้ำท่าจีนที่สะพานเสาวภา ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำแม่กลองที่บ้านโป่ง เลี้ยวลงไปทางทิศใต้เลียบใกล้ฝั่งแม่น้ำและข้ามแม่น้ำแม่กลองที่ช่วงเมืองราชบุรี ที่สะพานจุฬาลงกรณ์ แล้วตรงไปตามทางจนถึงเมืองเพชรบุรี รางรถไฟมีความกว้าง 1 เมตร และมีความยาวทั้งสิ้น 151 กิโลเมตร ในระหว่างเส้นทางดังกล่าวต้องสร้างสะพานรถไฟข้ามคลองและแม่น้ำถึง 3 แห่ง ได้แก่
1. สะพานข้ามคลองตลิ่งชัน
2. สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (#สะพานเสาวภา)
3. สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองช่วงเมืองราชบุรี (#สะพานจุฬาลงกรณ์)
.
สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองช่วงผ่านเมืองราชบุรีสร้างเมื่อ พ.ศ. 2444 ทางเดินรถแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 50 เมตร มีระยะทางทั้งสิ้น 150 เมตร นับได้ว่าเป็นสะพานรถไฟที่ยาวที่สุดของสยามประเทศ ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานชื่อว่า #สะพานจุฬาลงกรณ์ ตามพระนามของพระองค์ และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดทางรถไฟอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2446
.
ปัจจุบันมีก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ และมีการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองซึ่งเป็นสะพานคานขึง (Extradose Bridge) คือ การผสมผสานระหว่างสะพานขึงและสะพานคอนกรีตที่ใช้สายเคเบิ้ลในการช่วยรับแรง เป็นสะพานรถไฟคู่ขนานกับสะพานจุฬาลงกรณ์ที่เป็นสะพานรถไฟเดิม สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองที่ก่อสร้างอยู่จะเป็นสะพานรถไฟคานขึงที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และอาจจะขึ้นแท่นเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมืองราชบุรีในอนาคตอีกด้วย
เรียบเรียง และศิลปกรรม : นางสาวธนาภรณ์ พันธ์ประเสริฐ นิสิตฝึกงาน มหาวิทยาลัยบูรพา
(จำนวนผู้เข้าชม 730 ครั้ง)