องค์ความรู้ : คำบอกเล่าบางส่วนเมื่อครั้งคณะมิชชันนารีมาเมืองน่านสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
.....เมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๒ (พ.ศ. ๒๔๑๕) พ่อครูหลวงแมคกิลวารี.....ผ่านมายังเมืองน่านในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม.....ในสายตาของมิชชันนารี.....เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเจริญรุ่งเรืองและมีความสำคัญยิ่งเมืองหนึ่งในล้านนา เจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ที่มีความปรีชาสามารถ แม้ว่าจะทรงเป็นผู้ปกครองหัวเก่าไม่ยอมรับวิถีชีวิตและการค้าของต่างชาติก็ตาม .....
.....เมื่อมิชชันนารีไปถึงเมืองน่านก็ได้รับการเอาใจใส่อย่างดีจากเจ้าบริรักษ์ หลานของเจ้าผู้ครองนครน่าน ซึ่งมิชชันนารีเคยพบที่เชียงใหม่
.....พ่อครูหลวง (แมคกิลวารี) มีความใฝ่ฝันมาก่อนหน้านี้ว่าอยากจะขยายงานมาที่เมืองน่าน...ท่านบันทึกไว้ว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกรักเมืองน่านตั้งแต่แรกพบและหมายไว้ว่าจะเป็นที่ตั้งศูนย์มิชชันในวันข้างหน้า"
.....เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๐ (พ.ศ. ๒๔๓๓) พ่อครูหลวงแมคกิลวารีเดินทางมายังเมืองน่านอีกครั้งหนึ่ง พร้อมด้วยนางสาวมาการ์เร็ต ลูกสาว.....ถึงเมืองน่านในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากข้าราชการเมืองน่าน มีชาวเมืองมามุงดูอย่างหนาแน่น มิชชันนารีกล่าวว่า ถึงแม้จะมีคนมามุงดูแน่นขนัดแต่ก็ไม่ค่อยยอมฟังเรื่องราวของคริสต์ศาสนาเลย.....
.....การมาครั้งนี้ มิชชันนารีได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเจ้าผู้ครองนคร คือ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช ที่คุ้มแก้ว มิชชันนารีบันทึกเรื่องเจ้าอนันตวรฤทธิเดชไว้ว่า เป็นเจ้าผู้ครองหัวเมืองล้านนาที่มีความสำคัญในราชสำนักกรุงเทพฯ เป็นที่สองรองจากกษัตริย์เชียงใหม่ พระองค์แสดงความยินดีที่มีฝรั่งมิชชันนารีมาเยี่ยมเมืองน่าน และทรงกล่าวสัพยอกกับมิชชันนารีว่า ท่านอายุมากเกินที่จะเข้าศาสนาใหม่.....
ภาพ : ภายในตึกรังษีเกษม จังหวัดน่าน
ที่มาข้อมูล : ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. นันทบุรีศรีนครน่าน ประวัติศาสตร์ สังคม และคริสต์ศาสนา. เชียงใหม่ : ฝ่ายประวัติศาสตร์ สภาคริสตจักรในประเทศไทย, ๒๕๓๙
(จำนวนผู้เข้าชม 1098 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน