องค์ความรู้ : หน้ากาล หรือเกียรติมุข ประดับเจดีย์วัดป่าสัก เชียงราย
หน้ากาล หรือเกียรติมุข เป็นลายประดับรูปใบหน้าของอสูรที่มีใบหน้าดุร้ายคล้ายยักษ์และสิงห์ อ้าปากกว้าง ริมฝีปากบนมีฟันและเขี้ยว มักจะทำท่าทางคายพรรณพฤกษาหรือท่อนพวงมาลัย หน้ากาลเป็นสัญลักษณ์แทนผู้กลืนกินทุกสรรพสิ่งตามคติในศาสนาฮินดู ส่วนในทางศิลปกรรมนิยมนำหน้ากาลมาประดับศาสนถานบริเวณเรือนธาตุ หรือซุ้มจระนำ ตามคติความเชื่อในการปกปักรักษาศาสนสถานให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
หน้ากาล หรือเกียรติมุข ประดับเจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
 
          หน้ากาล หรือเกียรติมุข เป็นลายประดับรูปใบหน้าของอสูรที่มีใบหน้าดุร้ายคล้ายยักษ์และสิงห์ อ้าปากกว้าง ริมฝีปากบนมีฟันและเขี้ยว มักจะทำท่าทางคายพรรณพฤกษาหรือท่อนพวงมาลัย หน้ากาลเป็นสัญลักษณ์แทนผู้กลืนกินทุกสรรพสิ่งตามคติในศาสนาฮินดู ส่วนในทางศิลปกรรมนิยมนำหน้ากาลมาประดับศาสนถานบริเวณเรือนธาตุ หรือซุ้มจระนำ ตามคติความเชื่อในการปกปักรักษาศาสนสถานให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ

          ในศิลปะล้านนา สามารถพบเห็นชิ้นส่วนปูนปั้นลายหน้ากาลประดับอยู่บริเวณเรือนธาตุเจดีย์ ฐานเสาหรือซุ้มจระนำของศาสนสถาน โดยเฉพาะที่เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งจัดเป็นลายหน้ากาลที่มีความงดงามตามแบบเอกลักษณ์ของลายปูนปั้นเมืองเชียงแสน ผสมผสานศิลปะล้านนาเข้ากับศิลปะจีนและศิลปะพุกามของพม่า จนเกิดเป็นลวดลายเอกลักษณ์ของเมืองเชียงแสนเอง








   
      ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จัดแสดงชิ้นส่วนปูนปั้นลายหน้ากาลจากเจดีย์วัดป่าสัก ซึ่งเป็นชิ้นที่สมบูรณ์ที่สุดให้คนทั่วไปได้เข้าชม

(จำนวนผู้เข้าชม 6920 ครั้ง)