ขอเชิญร่วมสัมมนาทางวิชาการ "ข้อมูลใหม่จากโบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม"
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญผู้สนใจร่วมการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ข้อมูลใหม่จากโบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม ในวันเสาร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ ลงทะเบียนออนไลน์เพื่อร่วมการสัมมนา ได้ที่ http://seminar.finearts.go.th/course/view/44
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญผู้สนใจร่วมการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ข้อมูลใหม่จากโบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม ในวันเสาร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ ลงทะเบียนออนไลน์เพื่อร่วมการสัมมนา ได้ที่ http://seminar.finearts.go.th/course/view/44
กรมศิลปากร จัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ข้อมูลใหม่จากโบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาศิลาจารึกสมัยทวารวดีที่พบใหม่ และความคืบหน้าผลการดำเนินงานทางโบราณคดีและการอนุรักษ์โบราณสถานวัดพระงาม เมืองโบราณนครปฐม ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อมูลใหม่และองค์ความรู้เรื่องเมืองโบราณนครปฐม (วัฒนธรรมทวารวดี) จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดนครปฐม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณสถานในวัฒนธรรมทวารวดี การสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทวารวตีวิภูติ” จากจารึกวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม โดยนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์จากการขุดค้นแหล่งโบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม โดย นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากรนางสาวพยุง วงษ์น้อย ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายสรรินทร์ จรัลนภา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ศิลาจารึกสมัย ทวารวดีจากโบราณสถานวัดพระงาม:การศึกษาวิเคราะห์และการตีความศิลาจารึกวัดพระงาม” โดย นางสาว ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาโบราณ กรมศิลปากร ดร. อมรา ศรีสุชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดี กรมศิลปากร ผศ. ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ราชบัณฑิตประเภทวรรณศิลป์ สาขาตันติภาษา และการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง นานาทัศนะเกี่ยวกับโบราณสถานวัดพระงาม โดย รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี ดร.อุเทน วงษ์สถิตและ รศ.ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
โบราณสถานวัดพระงาม ตั้งอยู่นอกเมืองนครปฐมโบราณ เมืองสำคัญในวัฒนธรรมทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖) ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่วัดพระงาม จังหวัดนครปฐม กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดพระงาม และจากการขุดศึกษาทางโบราณคดี พบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ เช่น พระพิมพ์ดินเผา ประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะศิลาจารึกสมัยทวารวดี กรมศิลปากรจึงมอบหมายผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ และได้ขอความอนุเคราะห์ราชบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ร่วมกันศึกษาและตีความจารึกดังกล่าว ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้จะได้นำผลการศึกษาและข้อมูลใหม่ออกเผยแพร่สู่สาธารณชน อันจะสร้างความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองโบราณนครปฐม และวัฒนธรรมทวารวดีให้เป็นที่รับรู้มากยิ่งขึ้น ทำให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
กรมศิลปากร จัดการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ข้อมูลใหม่จากโบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาศิลาจารึกสมัยทวารวดีที่พบใหม่ และความคืบหน้าผลการดำเนินงานทางโบราณคดีและการอนุรักษ์โบราณสถานวัดพระงาม เมืองโบราณนครปฐม ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อมูลใหม่และองค์ความรู้เรื่องเมืองโบราณนครปฐม (วัฒนธรรมทวารวดี) จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดนครปฐม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณสถานในวัฒนธรรมทวารวดี การสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทวารวตีวิภูติ” จากจารึกวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม โดยนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์จากการขุดค้นแหล่งโบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม โดย นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากรนางสาวพยุง วงษ์น้อย ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายสรรินทร์ จรัลนภา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ศิลาจารึกสมัย ทวารวดีจากโบราณสถานวัดพระงาม:การศึกษาวิเคราะห์และการตีความศิลาจารึกวัดพระงาม” โดย นางสาว ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาโบราณ กรมศิลปากร ดร. อมรา ศรีสุชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดี กรมศิลปากร ผศ. ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ราชบัณฑิตประเภทวรรณศิลป์ สาขาตันติภาษา และการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง นานาทัศนะเกี่ยวกับโบราณสถานวัดพระงาม โดย รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี ดร.อุเทน วงษ์สถิตและ รศ.ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
โบราณสถานวัดพระงาม ตั้งอยู่นอกเมืองนครปฐมโบราณ เมืองสำคัญในวัฒนธรรมทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖) ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่วัดพระงาม จังหวัดนครปฐม กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดพระงาม และจากการขุดศึกษาทางโบราณคดี พบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ เช่น พระพิมพ์ดินเผา ประติมากรรมดินเผาประดับสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะศิลาจารึกสมัยทวารวดี กรมศิลปากรจึงมอบหมายผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ และได้ขอความอนุเคราะห์ราชบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ร่วมกันศึกษาและตีความจารึกดังกล่าว ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้จะได้นำผลการศึกษาและข้อมูลใหม่ออกเผยแพร่สู่สาธารณชน อันจะสร้างความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองโบราณนครปฐม และวัฒนธรรมทวารวดีให้เป็นที่รับรู้มากยิ่งขึ้น ทำให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
(จำนวนผู้เข้าชม 1771 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน