การขุดค้นแหล่งโบราณคดีโนนพลล้าน ครบ 7 วัน พบอะไร ?
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา รายงานผลจากการขุดค้นทางโบราณคดี ครบ 7 วัน จากวันที่ 25 มกราคม จนถึงวันนี้ 31 มกราคม 2568 ขณะนี้ได้ขุดค้นถึงระดับความลึก 160 เซนติเมตรจากผิวดิน พบโครงกระดูกมนุษย์ถูกฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาวร่วมกับของอุทิศ จำนวน 3 โครง ได้แก่
1) โครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 1 ฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางด้านตะวันออก ฝังร่วมกับแวดินเผา ชามดินเผา และหม้อดินเผาอยู่บริเวณหน้าอก นอกจากนี้ยังพบกลุ่มภาชนะใกล้กับต้นแขนซ้ายด้วย
2) โครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 2 ฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางด้านตะวันตก ฝังร่วมกับหม้อดินเผาอยู่บริเวณปลายเท้า
3) โครงกระดูกมนุษย์ หมายเลข 3 ฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางด้านตะวันออก ฝังร่วมกับแวดินเผาอยู่บริเวณหน้าอก และหม้อดินเผาอยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ สอดคล้องกับหลักฐานที่พบจากการดำเนินงานเมื่อปีพ.ศ 2567 ซึ่งพบว่าพื้นที่โนนพลล้านนี้ เป็นแหล่งฝังศพของชุมชนในวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สมัยเหล็ก ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในช่วง 2,400-1,500 ปีมาแล้ว
การขุดค้นยังคงดำเนินการต่อไป ขอเรียนเชิญทุกๆท่าน แวะเวียนมาเยี่ยมชมหลุมขุดค้น ตลอดจนเยี่ยมชมนิทรรศการข้างหลุมขุดค้น "สืบร่องรอยมนุษย์โบราณเมืองเก่านครราชสีมาจากหลักฐานทางโบราณคดี" ในช่วงเวลา 9:30 น ถึง 16.00 น. ไปจนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ มีนักโบราณคดีคอยบริการให้ความรู้อยู่นะครับ
(จำนวนผู้เข้าชม 15 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน