ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาและบรรยาย “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom”
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3.jpg)
กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาและการบรรยายจากผู้บริหารองค์กรด้านพิพิธภัณฑ์ของไทย รวมถึงผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์มากกว่า 40 คน ที่จะมาร่วมกันบอกเล่าเรื่องราวความรู้ต่าง ๆ สู่สาธารณชน ในงาน “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom” ในวาระครบรอบ 150 ปี แห่งการเริ่มต้นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2567 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
สำหรับการเสวนาและการบรรยาย ประกอบด้วย
วันที่ 19 กันยายน 2567
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20(1).jpg)
Session 1 : “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to wisdom” การเสวนาเล่าเรื่องจุดเริ่มต้นของกิจการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย พัฒนาการ และทิศทางสู่อนาคต โดย สมลักษณ์ เจริญพจน์ อุปนายกสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) และนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/19-09-67%20(1).jpg)
Session 2 : “พิพิธพัฒนาการพิพิธภัณฑ์ไทย” การบรรยายเจาะลึกการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ไทยที่น่าสนใจ ประกอบด้วย “พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นพ. สรรใจ แสงวิเชียร ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล “๒๐ ปี พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย” โดย สุชีรา เทวะ นักจัดกิจกรรมภาพยนตร์ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) “กว่าจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน” โดย ชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/19-09-67%20(3).jpg)
Session 3 : “พหุวัฒนธรรมการแต่งกาย” การเสวนาที่จะพาทุกคนไปสัมผัสวัฒนธรรมหลากหลายที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว กับประเด็น “พหุพัสตราภรณ์ ความหลากหลายแห่งแพรพรรณ” โดย ชนะภพ วัณณโอฬาร สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา “๑๕๐ ปี วิวัฒนาการผ่านผืนผ้า From westernized สู่ไทยพระราชนิยม” โดย ณชนก วงศ์ข้าหลวง พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “ผ้าราชสำนักในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” โดย ยุทธนาวรากร แสงอร่าม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2.jpg)
Session 4 : “รากฐานความรู้ สู่การเป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ระดับวิชาการ“ การบรรยายเล่าเรื่องเบื้องหลัง การรวบรวมสิ่งสะสมที่พัฒนาเป็นองค์ความรู้ทางวิชาการ ประกอบด้วย “จากแผ่นสู่ห้องสมุดเสียงร้อยเรียงเป็นแหล่งเรียนรู้” โดย ถนิมรัตน์ แกล้วทนงค์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์ “จากการสะสมวัตถุพยาน สู่พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้” โดย ชาตรี ชุ่มจิตร นักสื่อสารมวลชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน “จากสะสมสู่มิวเซียม: จุดเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด” โดย นิภาพร บุญทองใหม่ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด “กองทัพอากาศในกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม” โดย นาวาอากาศเอก วีระชน เพ็ญศรี ผู้อำนวยการกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมสารบรรณทหารอากาศ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ “สิ่งสะสมส่วนตัวสู่คลังสมบัติชาติ: นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล กับการวางรากฐานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาไทย” โดย ชัยนุพล สุวรรณกุลไพศาล ศูนย์บริหารคลังตัวอย่างทางธรรมชาติวิทยาและสัตว์สตัฟฟ์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ “พิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง กับการจัดการผลงานโดยครอบครัวศิลปิน” โดย นวภู แซ่ตั้ง นักวิชาการศิลปะ ทายาทรุ่นที่ 3 ของศิลปิน จ่าง แซ่ตั้ง ผู้ร่วมก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99.jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/19-09-67%20(2).jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/19-09-67%20(4).jpg)
วันที่ 20 กันยายน 2567
Session 5 : “Museum as Soft Power” การบรรยายนำเสนอบทเรียนจากความสำเร็จการเป็นผู้นำด้าน Soft Power โดย ลี ซอนจู ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีแห่งประเทศไทย
Session 6 : “พิพิธภัณฑ์กับการเป็นแหล่งท่องเที่ยว” การเสวนาร้อยเรียงกระบวนการจัดการพิพิธภัณฑ์เพื่อตอบรับการท่องเที่ยวกระแสหลัก โดย ดร. บัลลังก์ เนื่องแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ณันท์นภัส โตพัน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) พนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณทสถานแห่งชาติ พระนคร (ผู้ดำเนินรายการ)
Session 7 : “พิพิธภัณฑ์กับการแปลงทุนทางวัฒนธรรมสู่การเรียนรู้” การบรรยายนำเสนอแนวทางการประยุกต์องค์ความรู้ที่เข้าถึงคนทุกวัย “บอร์ดเกมจากพิพิธภัณทสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์” โดย ชนน วัฒนะกูล ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณทสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
Session 8 : “พิพิธภัณฑ์กับวัฒนธรรมร่วมสมัย” การบรรยายเกี่ยวกับการตีความวัตถุทางวัฒนธรรมเพื่อสื่อสารในรูปแบบแฟชั่นดีไซน์ ประกอบด้วย “Redefining Ethnological Collections: Integrating Contemporary Indigenous Fashion.” โดย Yulun Huang Curatorial Assistant Researcher, National Museum of Prehistory, Taiwan “จากศิลปะ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดย ดร. วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร (Ph.D in Visual Art) หอศิลป์ศาลเจ้า
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/20-09-67.jpg)
Session 9 : “พิพิธภัณฑ์กับการสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้” การเสวนาว่าด้วยการออกแบบกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ “บทเรียนจากพิพิธภัณฑ์...สู่การสร้างสรรค์เมืองแห่งการเรียนรู้” โดย ทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร มิวเซียมสยาม อัศรินทร์ นนทิหทัย ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมการเรียนรู้ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ พีรัช ษรานุรักษ์ นักออกแบบการเรียนรู้ Wizards of Learning ชนน์ชนก พลสิงห์ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม (ผู้ดําเนินรายการ)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C.jpg)
วันที่ 21 กันยายน 2567
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20(3).jpg)
Session 10 : “เทคโนโลยีกับพิพิธภัณฑ์” การบรรยายนำเสนองานหลังบ้าน การวิเคราะห์โบราณวัตถุ และการจัดการฐานข้อมูล ประกอบด้วย “หน้าบ้านหลังบ้าน การใช้เทคโนโลยีในงานพิพิธภัณฑ์แบบทำได้จริง” โดย อานุภาพ สกุลงาม ผู้อำนวยการกองวิชาการวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ “เทคโนโลยีกับการสร้างฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์โบราณวัตถุ” โดยเบญจวรรณ พลประเสริฐ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย “เทคโนโลยีกับการสร้างภาพจำใหม่ของโบราณวัตถุ” โดย นัยนา มั่นปาน ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
Session 11 : “พิพิธภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน“ การเสวนาเล่าเรื่องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากคุณค่าวัตถุทางวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์: พิพิธภัณฑ์บันดาลไทย กับวิทยากรกลุ่มเซียมไล้และตัวแทนน้องๆ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม อาจารย์ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปินศิลปาธร 2557 สาขาเรขศิลป์ และผู้ก่อตั้งกลุ่มเซียมไล้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สมาชิกกลุ่มเซียมไล้ ทานตะวัน วัฒนะ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์บันดาลไทย 2567 ทีมไทยเก๊ก ธนพล โลหชิตพิทักษ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์บันดาลไทย 2567 ทีมประกายมรกต วัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี (ผู้ดำเนินรายการ)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/21-09-67.jpg)
Session 12 : “พิพิธภัณฑ์เพื่อสังคม“ การบรรยายเล่าเรื่องความรู้ ภูมิปัญญา และงานอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคม ประกอบด้วย “บทบาทพิพิธภัณฑ์ในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” โดย พระปลัดประพจน์ สุปภาโต พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง “การส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ผ่านการเป็นอาสาสมัครเล่าเรื่องวัตถุตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” โดย มณีรัตน์ เปานาเรียง ผู้อำนวยการกองวิชาการประวัติวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาไทย สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
Session 13 : “พลวัต (การศึกษา) สู่อนาคตพิพิธภัณฑ์ไทย”การบรรยายนำเสนอทิศทางของพิพิธภัณฑ์ไทยในนวัตกรรมแห่งความรู้ ในหัวข้อ “พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ของอนาคต” โดย พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ พิพิธภัณฑ์นักเขียนไทย “จากการสั่งสมโบราณวัตถุ สร้างสรรค์บทสนทนาสู่การสร้างนวัตกรรมกรรมทางสังคม A passage of Knowledge, Conversation and Innovation” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พธู คูศรีพิทักษ์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิพิธภัณฑศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8.jpg)
Session 14 : “พิพิธภัณฑ์กับชุมชน” การเสวนานำเสนอกระบวนการสร้างสรรค์พื้นที่ของวัฒนธรรมชุมชน “ศิลปะชุมชน พื้นที่ของวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์” โดย อาจารย์ชุมพล อักพันธานนท์ บ้านศิลปินคลองบางหลวง ดร. ไพโรจน์ ทองคำสุก ศูนย์ฝึกโขนวัดสุวรรณาราม ชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน (ผู้ดำเนินรายการ).
ทั้งนี้ ในวันที่ 19 กันยายน 2567 สามารถเข้าร่วมรับฟังการเสวนาและการบรรยายได้ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป โดยมีการปาฐกถาพิเศษ “มองอนาคตของพิพิธภัณฑ์ในทศวรรษหน้า” โดย พนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และวันที่ 20 - 21 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษกับวัตถุสะสมชิ้นพิเศษจากพิพิธภัณฑ์เครือข่าย 24 แห่ง การออกร้านกิจกรรมพิเศษและการจำหน่ายของที่ระลึกจากพิพิธภัณฑ์เครือข่ายอีก 20 แห่ง ตลาดสินค้าสร้างสรรค์ประเภทอาร์ตทอย นอกจากนี้ในช่วงค่ำยังจัดให้มีกิจกรรม Museum Talk ยามค่ำ และกิจกรรม Night Museum เปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์รอบพิเศษให้ทุกท่านเข้าชมนิทรรศการและความสวยงามของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยามค่ำคืน ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 19 - 21 กันยายน 2567 กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ไปจนถึง 20.00 น.
ติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ใน “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to wisdom” ได้ทาง Facebook: Thai Museum Day และ Office of National Museums, Thailand สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โทร. 0 2164 2501-02 ต่อ 8045
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/150Y%20thai%20museum.jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%20%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/museum%20fair.jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%20(1).jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%20(2).jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/sirin%20museum%20(5).jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/exhibition.jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/13/News2567/ThaiMuseumDay150y/night%20museum%2018-22sep2024.jpg)
(จำนวนผู้เข้าชม 887 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน