กระทรวงวัฒนธรรมขอเชิญร่วมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๗
วธ. ขอเชิญร่วมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2567 เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนรู้รักและตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม โทร. 022470013 ต่อ 1226)
วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 8 กระทรวงวัฒนธรรม นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ประธานการแถลงข่าวกล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พุทธศักราช 2542 รัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติเป็นประจำทุกปี เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนรู้รักภาษาไทย ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างต้นแบบที่ดีแก่ประชาชนให้มีการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เหมาะสมและภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนเป็นการสร้างค่านิยมและส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้คงอยู่สืบไป
กิจกรรมนี้จัดขึ้นภายใต้การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานภายนอก และเครือข่ายวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เหมาะสม และภูมิใจในความเป็นไทยโดยมีกิจกรรมไฮไลต์ภายในงานประกอบด้วย
- มอบเข็มและโล่เกียรติยศ แก่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย รวมทั้งสิ้น 18 รางวัล
- มอบรางวัล “เพชรในเพลง” ให้แก่นักร้องและผู้ประพันธ์เพลงไทยที่ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง จำนวน 14 รางวัล
- มอบรางวัลประกวดเพลงแรป “บอกรักษ์ภาษาไทย” จำนวน 5 รางวัล และรางวัลอ่านทำนองเสนาะ “สดับร้อยกรองไทย” ครั้งที่ 3 จำนวน 6 รางวัล
- จัดนิทรรศการ ประวัติและผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัล และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
ด้าน นายประสพ เรียงเงินอธิบดี กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า สำหรับบุคคลและองค์กรที่ได้เข็มและโล่เชิดชูเกียรติทางด้านภาษาไทย ประจำปีพุทธศักราช 2567 แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จำนวน 2 ราย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรทิพย์ พุกผาสุข และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิวกานท์ ปทุมสูติ
2. ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จำนวน 11 ราย ได้แก่ 1) นางเทพี จรัสจรุงเกียรติ 2) นายชาครีย์นรทิพย์
เสวิกุล 3) นายณรงค์ฤทธิ์ คิดเห็น 4) นายธีระพงษ์ โสดาศรี 5) นางนันทพร แสงมณี 6) นางสาวปาริฉัตร ศาลิคุปต 7) นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ 8) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีรวัฒน์ อินทรพร 9) นายศราวุธ สุดงูเหลือม 10) ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรตี ปรีชาปัญญากุล และ 11) นายสุภาพ คลี่ขจาย
3. ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1) นายไกรสร ฮาดคะดี 2) นายณรงค์ศักดิ์ กำเนิดทอง 3) นายปราโมทย์ ในจิต และ 4) นายเอ็ด ติ๊บปะละ
4. ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย จำนวน 1 องค์กร ได้แก่ สถาบันสุนทรภู่
ด้าน นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร จัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2567 ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การจัดพิมพ์หนังสือหายาก การสัมมนาทางวิชาการด้านภาษาและวรรณคดีไทย และ การประกวดเพลง “เพชรในเพลง” เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย โดยมีรางวัลการประพันธ์เพลงและการขับร้องเพลง รวมทั้งหมด 12 รางวัล และรางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ 2 รางวัล โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้
รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
1) รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ นายปัณฑพล ประสารราชกิจ และนายธิติวัฒน์ รองทอง จากเพลงลั่นทม
1) รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ นายปัณฑพล ประสารราชกิจ และนายธิติวัฒน์ รองทอง จากเพลงลั่นทม
2) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ นายกฤตศิลป์ ฉลองขวัญ จากเพลงดอกไม้จากดวงดาว 3) รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ นายจิรภัทร แจ่มทุ่ง จากเพลงยามท้อขอมีเธอ 4) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ นายสลา คุณวุฒิ จากเพลงอยากซื้อบ้านนอกให้แม่
รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 8 รางวัล ได้แก่
1) รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ (สปาย) จากเพลงคอย
2) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายธานินทร์ อินทรแจ้ง (ธานินทร์ อินทรเทพ) จากเพลงเดือนประดับใจ
1) รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ (สปาย) จากเพลงคอย
2) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายธานินทร์ อินทรแจ้ง (ธานินทร์ อินทรเทพ) จากเพลงเดือนประดับใจ
3) รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ นางสาวสรวีย์ ธนพูนหิรัญ (ผิงผิง) จากเพลงดอกไม้จากดวงดาว
4) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ นางสาวปราชญา ศิริพงษ์สุนทร จากเพลงมรดกธรรม มรดกโลก
5) รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายอนันต์ อาศัยไพรพนา (นัน อนันต์) จากเพลงยามท้อขอมีเธอ
6) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายเสมา สมบูรณ์ (ไชยา มิตรชัย) จากเพลงรอยยิ้มก่อนจากลา
7) รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวสุทธิยา รอดภัย (ใบเฟิร์น สุทธิยา) จากเพลงกราบหลวงพ่อใหญ่อ่างทอง และ
8) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวกาญจนา มาศิริ จากเพลงสารภาพรัก
4) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ นางสาวปราชญา ศิริพงษ์สุนทร จากเพลงมรดกธรรม มรดกโลก
5) รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายอนันต์ อาศัยไพรพนา (นัน อนันต์) จากเพลงยามท้อขอมีเธอ
6) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายเสมา สมบูรณ์ (ไชยา มิตรชัย) จากเพลงรอยยิ้มก่อนจากลา
7) รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวสุทธิยา รอดภัย (ใบเฟิร์น สุทธิยา) จากเพลงกราบหลวงพ่อใหญ่อ่างทอง และ
8) รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวกาญจนา มาศิริ จากเพลงสารภาพรัก
รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ จำนวน 2 รางวัล
1.รางวัลเชิดชูเกียรติ ครูเพลงผู้ใช้ภาษาวรรณศิลป์ดีเด่น ได้แก่นายชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร
2.รางวัลเชิดชูเกียรติ นักแปลเพลง : คมความ งามคำไทย ในบทเพลง ได้แก่ นายธานี พูนสุวรรณ
ทั้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (สป.) ได้เชิญชวนสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยร่วมจัดทำวีดิทัศน์ เพื่ออนุรักษ์และรณรงค์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดย สป.รวบรวมวีดิทัศน์ที่ได้รับจากสถานเอกอัครราชทูตฯ และนำไปตัดต่อให้กระชับภายในระยะเวลา 5 - 10 นาที เพื่อนำไปจัดฉายในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ และเชิญผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยที่ร่วมจัดทำวีดิทัศน์ข้างต้น เข้าร่วมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ
ในโอกาสนี้ วธ.ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2567 ได้ในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยจะมีพิธีมอบเข็มและโล่เชิดชูเกียรติแก่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย พร้อมรางวัลเพชรในเพลง ทั้งนี้ ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม โทร. 022470013 ต่อ 1226
(จำนวนผู้เข้าชม 417 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน