กิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์สากล 2567 Museums for Education and Research พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาและวิจัย
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมเฉลิมฉลองกิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์สากล 2567 Museums for Education and Research พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาและวิจัย พบกับเวทีการบรรยายและเสวนา โดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งผู้มีส่วนสนับสนุนการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ มาถ่ายทอดความรู้ พร้อมเบื้องหลังแนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมทางการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ในฐานะผู้ให้บริการทางการศึกษาและวิจัยอย่างแท้จริง จัดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 – 12.30 น. สามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook และ Youtube : Office of National Museums, Thailand
กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทย, สมาชิก ICOM Thailand, ผู้ปฏิบัติงานและครีเอเตอร์ด้านพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม นิทรรศการ และหอศิลป์, ผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์, นักวิชาการศึกษา นักเรียน นักศึกษา โดยมีหัวข้อการบรรยายและการเสวนาที่น่าสนใจ ดังนี้
- “นโยบายการศึกษาและวิจัยของกรมศิลปากร”โดย นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร
- “มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023” โดย นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- “Weaving Connections Lessons on Museum Education Outreach From National Taiwan Museum” โดย Ms. Hui-Shin FANG (Phaedra) Education Department, NTM} Ms. Emily Hsu-Wen YUAN/ Education Department., NTM, Ms. Chao-Ling KUO/ Exhibition Planning Dep., NTM, Ms. Busabong Chaiyanan/ NTM International Docent
พบกับภัณฑารักษ์ คณะทำงานจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไต้หวัน ที่มาร่วมเฉลิมฉลองวันพิพิธภัณฑสากลในปีนี้กับหัวข้อ “เชื่อมต่อทอสัมพันธ์ : ถอดบทเรียนในการเผยแพร่ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไต้หวัน” นำเสนอวิธีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพิพิธภัณฑ์กับชุมชนผ่านกิจกรรมการศึกษาในรูปแบบต่างๆ อย่างไร ให้สามารถมีส่วนร่วมกับสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างทั่วถึง
พบกับภัณฑารักษ์ คณะทำงานจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไต้หวัน ที่มาร่วมเฉลิมฉลองวันพิพิธภัณฑสากลในปีนี้กับหัวข้อ “เชื่อมต่อทอสัมพันธ์ : ถอดบทเรียนในการเผยแพร่ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไต้หวัน” นำเสนอวิธีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพิพิธภัณฑ์กับชุมชนผ่านกิจกรรมการศึกษาในรูปแบบต่างๆ อย่างไร ให้สามารถมีส่วนร่วมกับสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างทั่วถึง
- “พื้นที่ให้เล่า : เล่าเรื่องประวัติศาสตร์อย่างไรให้น่าสนใจ” โดย นางสาวมนสิชา รุ่งชวาลนนท์ เจ้าของ Facebook Page “พื้นที่ให้เล่า” ซึ่งจะมานำเสนอวิธีการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ วัตถุสิ่งของ และพิพิธภัณฑ์ นำมาตีความเล่าเรื่อง จับประเด็นเชื่อมโยงระหว่างอดีตและปัจจุบันในมิติต่างๆ อย่างไรให้น่าสนใจ จนมีผู้ติดตามทางเพจแล้วมากกว่า 100,000 คน
- “เที่ยวพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกไปกับ Google” โดย นายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว อดีตผู้บริหารบริษัท Google Thailand จำกัด จะมานำเสนอบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของ Google ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงพิพิธภัณฑ์และคอลเลกชันทั่วโลกได้แบบไม่มีวันหยุด พร้อมแนะนำเทคนิคการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างไรกับงานด้านศิลปวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- “กิจกรรมการศึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ : ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ในสังคมแห่งการเรียนรู้” โดย นางสาวณชนก วงศ์ข้าหลวง ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งจะมานำเสนอกิจกรรมเพื่อการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบ Hands-on Experience ว่ามีส่วนสำคัญอย่างไรในการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ของผู้ปฏิบัติ
- “กิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริม Soft Power จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” โดย นางสาววัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี, นางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา, ดำเนินรายการโดย นางสาวเพียงพิศ ส่งเสริม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พบกับภัณฑารักษ์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จะมาแนะนำกระบวนการเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์ผ่านกิจกรรมการศึกษา รวมถึงวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ จากต้นทุนทางวัฒนธรรมภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
พบกับภัณฑารักษ์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จะมาแนะนำกระบวนการเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์ผ่านกิจกรรมการศึกษา รวมถึงวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ จากต้นทุนทางวัฒนธรรมภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
- “ฟื้นชีวิตโรงกลึงเก่า สู่พิพิธตลาดน้อย” โดย นางสาวนภาพร ลิขิตเรืองศิลป์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์, นายจุฤทธิ์ กังวานภูมิ ผู้แทนจากชุมชนตลาดน้อย, ดำเนินรายการโดย นายอรรณพ แจ้งสว่าง ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งจะมาบอกเล่าเบื้องหลังการจัดตั้งพิพิธตลาดน้อย ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนที่ร่วมกันรังสรรค์ “โรงกลึงเก่า” ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า และสามารถพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของชุมชนได้อย่างไร
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live “Office of National Museums, Thailand” https://www.facebook.com/onmthailand และทาง Youtube “Office of National Museums, Thailand” https://www.youtube.com/@officeofnationalmuseumsthai
(จำนวนผู้เข้าชม 478 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน