สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖
วันจันทร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๕๒ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายอดิเทพ กมลเวชช์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ผู้แทนหน่วยงานและประชาชนในจังหวัดปทุมธานี เฝ้าฯ รับเสด็จ
วันจันทร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๕๒ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายอดิเทพ กมลเวชช์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ผู้แทนหน่วยงานและประชาชนในจังหวัดปทุมธานี เฝ้าฯ รับเสด็จ
โอกาสนี้ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กราบบังคมทูลเบิกผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นและผู้สนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖ เข้ารับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทย จำนวน ๒๒ ราย จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และทอดพระเนตรนิทรรศการประวัติความเป็นมาของอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และห้องคลังโบราณวัตถุภายในอาคาร
กรมศิลปากรได้น้อมนำแนวพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานไว้ในหลายโอกาสเกี่ยวกับการจัดสร้างคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้มีพื้นที่เพียงพอต่อปริมาณโบราณวัตถุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ปรับปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานพิพิธภัณฑ์วิทยา เพื่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุของชาติ และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นด้วยการเปิดให้บริการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พุทธศักราช ๒๕๔๕ กรมศิลปากรจึงได้ย้ายโบราณวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเดิมใช้พื้นที่อาคารจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาจัดเก็บ ณ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี โดยจัดวางตามหมวดหมู่ประเภทวัสดุตามหลักการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ออกแบบห้องคลังต่างๆ ให้เป็นคลังเปิดเพื่อการศึกษา หรือ Visible Storage ที่เปิดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมมองเห็นได้จากภายนอกผ่านผนังกระจก
ต่อมาเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๕๙ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรก่อสร้างอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลังใหม่ในพื้นที่ว่างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ออกแบบให้เป็นอาคารคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุโดยเฉพาะ ตั้งแต่รูปแบบอาคารที่คำนึงถึงการควบคุมความร้อน ความชื้นจากภายนอกอาคาร ติดตั้งระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อปกป้องและรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ให้มีความยั่งยืนและปลอดภัยตามมาตรฐานคลังพิพิธภัณฑ์สากล ได้แก่ ระบบจัดเก็บตามประเภทวัสดุของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ระบบตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิความชื้น ระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย ป้องกันภัยธรรมชาติ และการโจรกรรม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่พิเศษ ความสูง ๔ ชั้น ตัวอาคารมีพื้นที่ใช้สอยภายนอกและภายในรวม ๓๐,๐๐๐ ตารางเมตร สามารถรองรับโบราณวัตถุได้มากถึง ๒๐๐,๐๐๐ รายการ รูปทรงอาคารเป็นทรงไทยประยุกต์ ออกแบบโดยนำเส้นสายฐานบัวอันเป็นเอกลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาใช้เป็นกรอบโครงด้านนอกของอาคาร เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทยด้วยวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ มีการระบายอากาศที่ดี สามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคาร และเหมาะสมกับสถานที่ตั้งที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น
อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่พิเศษ ความสูง ๔ ชั้น ตัวอาคารมีพื้นที่ใช้สอยภายนอกและภายในรวม ๓๐,๐๐๐ ตารางเมตร สามารถรองรับโบราณวัตถุได้มากถึง ๒๐๐,๐๐๐ รายการ รูปทรงอาคารเป็นทรงไทยประยุกต์ ออกแบบโดยนำเส้นสายฐานบัวอันเป็นเอกลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาใช้เป็นกรอบโครงด้านนอกของอาคาร เพื่อสร้างเอกลักษณ์ไทยด้วยวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ มีการระบายอากาศที่ดี สามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคาร และเหมาะสมกับสถานที่ตั้งที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในอาคารเป็นวัสดุประเภทเหล็ก คอนกรีต อลูมิเนียมและกระจกเป็นหลัก ไม่ใช้วัสดุประเภทไม้เพื่อลดโอกาสที่จะมีแมลงเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งอาจทำลายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่จัดเก็บอยู่ภายในอาคาร ปัจจุบันมีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เก็บรักษาในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จำนวนรวม ๑๑๓,๘๔๙ รายการ จัดเก็บในห้องคลังขนาดใหญ่ รวม ๑๐ ห้อง แบ่งห้องคลังในแต่ละชั้นตามน้ำหนักโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และประเภทวัสดุเพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษา การเคลื่อนย้าย และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย ห้องคลังโบราณวัตถุประเภทหินและปูนปั้น ห้องคลังโบราณวัตถุประเภทโลหะ ๓ ห้อง ห้องคลังโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาและแก้ว ๒ ห้อง ห้องคลังโบราณวัตถุประเภทไม้ ๒ ห้อง และห้องคลังโบราณวัตถุประเภทหนังสัตว์ ผ้า กระดาษ กระดูก งา และเขาสัตว์ ๒ ห้อง
คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้ถูกออกแบบและวางระบบการบริหารจัดการให้เป็นคลังเปิด (Visible Storage) เพื่อให้บริการในรูปแบบของคลังเพื่อการศึกษา (Study Collection) ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้บริการใน ๒ รูปแบบ คือการเข้าศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่บริการทั่วไป ได้แก่ ห้องสมุด ห้องสอบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ และใช้บริการสำเนาไฟล์ภาพถ่ายโบราณวัตถุ การบริการอีกรูปแบบหนึ่งคือ การศึกษาชิ้นงานโบราณวัตถุ ซึ่งต้องยื่นคำร้องขออนุญาต เมื่อได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกนำเข้าศึกษาโบราณวัตถุในพื้นที่ควบคุมชั้นใน โดยจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษา นักวิจัย และประชาชน เข้าศึกษาโบราณวัตถุในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ศกนี้ ซึ่งตรงกับวันพิพิธภัณฑ์ไทย
นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังมีบริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้สามารถชมบรรยากาศห้องคลังโบราณวัตถุ และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในมุมมอง ๓๖๐ องศา ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Virtual Smart Museum
และ FA Discovery เพื่อให้โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยังประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนให้สามารถเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงคุณค่าต่อไป
และ FA Discovery เพื่อให้โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยังประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนให้สามารถเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงคุณค่าต่อไป
(จำนวนผู้เข้าชม 481 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน