สำนักการสังคีต ขอเชิญชมโครงการจัดการแสดง "นาฏศิลป์และดนตรี" “เสาร์สนุก” วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายนนี้
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมโครงการจัดการแสดง "นาฏศิลป์และดนตรี" “เสาร์สนุก” วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 น. ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
รายการแสดงประกอบด้วย
1. การแสดงดนตรีสากล
- Der Erlkönig by Franz Schubert โดยมานิตย์ ธุวะเศรษฐกุล
- String Quartet No. 12 in F major, Op. 96, nicknamed the American Quartet, by Antonín Dvořá
2. วิธีการตีกลองทัด 3 ใบ โดยอนุชา บริพันธุ์
3. รำฉุยฉายมณีเมขลา โดยเสาวรักษ์ ยมะคุปต์
4. การแสดงชุดจรกาบวงสรวง โดยเยาวลักษณ์ ปาลกะวงศ์
5. รำฉุยฉายสมิงพระราม โดยเอก อรุณพันธ์
* ชมฟรี * สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. 0 2224 1342 และ โทร. 0 2221 0171
+++++++++++++++++++++++++++++++
รายการแสดงโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี "เสาร์สนุก"
- Der Erlkönig by Franz Schubert.
บทเพลง Der Erlkönig เป็นผลงาน Opus 1 อันมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของ Franz Schubert (1797-1828) คีตกวีชาวออสเตรีย ชูเบิร์ต ประพันธ์บทเพลงนี้เมื่อ ค.ศ.1815 เมื่อเขามีอายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น เนื้อร้องเป็นบทกวีที่ประพันธ์โดย Johann Wolfgang von Goethe (1749-1832) กวีผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมัน บทกวีเป็นเรื่องเล่าจากนิทานปรัมปราของชาวเดนมาร์กมีชื่อเรื่องเดิมว่า “Alder King” โดยมีฉากของเรื่องราวอยู่ในป่าชื่อว่า Black Forest in Baden ประเทศเยอรมัน บทกวีถ่ายทอดเรื่องราวผ่านบทบาทตัวละครที่ปรากฏในบทกวีอันประกอบด้วย ผู้เล่าเรื่อง (The Narrator) พ่อ(The Father) ลูกชาย(The Son) และภูตผีที่เรียกว่า Erlking (Erlkönig) บทวิเคราะห์บทเพลง Der Erlkönig Op. 1, D328 จะประกอบไปด้วยเนื้อหาดังนี้ 1) ชีวประวัติของ Franz Schubert (1797-1828) ผู้ประพันธ์ดนตรี 2) ชีวประวัติของ Johann Wolfgang von Goethe (1749-1832) ผู้ประพันธ์บทกวีซึ่งถูกนำมาเป็นเนื้อร้องของบทเพลง 3) บทกวี Der Erlkönig และคำแปลภาษาไทย 4) กาวิเคราะห์รายละเอียดของบทเพลง Der Erlkönig Op.1, D328
- String Quartet No. 12 in F major, Op. 96,
nicknamed the American Quartet, by Antonín Dvořák
String Quartet no.12 in F major ของ ดโวชาค หรือ American Quartet เป็นงานแนวโรแมนติก แต่งในช่วงที่ไปพำนักที่อเมริกา และมีความประทับใจ ตื่นเต้น กับความเจริญ วัฒนธรรมและผู้คนที่นั่นมาก โดยเฉพาะเพลงพื้นเมืองของชาวอเมริกัน ทำนองหลายตอนใช้ Pentatonic Scale มีกลิ่นอายเพลงพื้นเมืองของอเมริกัน และเพลงพื้นบ้านของชาวเช็ค ซึ่งเป็นบ้านเกิดของผู้ประพันธ์
ท่วงทำนอง จังหวะ ลีลาและ สำเนียงหวานไพเราะและสง่างาม แสดงสปิริตจิตวิญญาณของผู้ประพันธ์ ดนตรีโดดเด่นทุกแนว ท้าทายฝีมือนักดนตรีมาก โดยเฉพาะแนววิโอลามีบทบาทสำคัญมากเป็นพิเศษ ทั้งสองบทเพลงนี้ เป็นงาน masterpiece เป็นเพลงมาตรฐานที่นักเล่นแชมเบอร์มิวสิคและนักฟังต้องเรียนรู้ เล่นและฟังกัน
(จำนวนผู้เข้าชม 762 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน