ประชาธิปไตยสมมุติในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ดุสิตธานี เมืองสมมุติประชาธิปไตยขนาดย่อส่วนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่พระองค์ทรงพระราชดำริเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย มาครั้งแต่ที่พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กว่าจะมีดุสิตธานีนั้น พระองค์ทรงเรียนรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยผ่านการทดลองการปกครองสมมุติหลากหลายรูปแบบโดยเริ่มต้นจากการปกครองแบบ The New Republic หรือ สาธารณรัฐใหม่ เป็นการปกครองสมมุติแรกเริ่ม ไม่มีอาคารสถานที่มีแต่บุคคล ทรงร่วมกลุ่มกับพระสหายเป็นบทบาทสมมุติในการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ และมีการออกหนังสือเช่นเดียวกับราชกิจจานุเบกษา มีการแบ่งพรรคการเมืองเป็น 2 พรรค คือพรรคสาธารณรัฐ กับพรรคนิยมกษัตริย์ ทั้งนี้คณะปกครอง The New Republic มีช่วงเวลาเพียงแค่ 41 วันเท่านั้น
ภาพ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ภาพ : แผนผังการนั่งของผู้เข้าประชุมสมาคมครึ
เมืองมัง เป็นเมืองสมมุติขนาดเล็ก หรือเรียกว่าเมืองตุ๊กตา ทรงริเริ่มสร้างปี พ.ศ.2446 ในช่วงที่ทรงประทับ ณ พระตำหนักอัมพวา เหตุที่ชื่อเมืองมังนั้นคาดว่ามาจากชื่อพระตำหนักอัมพวา ที่แปลว่ามะม่วง และคำว่ามะม่วงในภาษาอังกฤษเรียกว่าแมงโก หรือมังโกนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างเมืองมังให้เป็นรูปธรรมขึ้น มีแม่น้ำลำคลอง ถนน หมู่บ้าน และสวน มีแบบแผนในการสร้างและการเล่นตามพระราชกระแสของพระองค์ เมืองมังยุติบทบาทลงหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงผนวชตามพระราชประเพณีในปี 2447
ภาพ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ภาพ : แผนผังการนั่งของผู้เข้าประชุมสมาคมครึ
เมืองมัง เป็นเมืองสมมุติขนาดเล็ก หรือเรียกว่าเมืองตุ๊กตา ทรงริเริ่มสร้างปี พ.ศ.2446 ในช่วงที่ทรงประทับ ณ พระตำหนักอัมพวา เหตุที่ชื่อเมืองมังนั้นคาดว่ามาจากชื่อพระตำหนักอัมพวา ที่แปลว่ามะม่วง และคำว่ามะม่วงในภาษาอังกฤษเรียกว่าแมงโก หรือมังโกนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างเมืองมังให้เป็นรูปธรรมขึ้น มีแม่น้ำลำคลอง ถนน หมู่บ้าน และสวน มีแบบแผนในการสร้างและการเล่นตามพระราชกระแสของพระองค์ เมืองมังยุติบทบาทลงหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงผนวชตามพระราชประเพณีในปี 2447
สมาคมครึ เป็นสมาคมมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงฝึกคนให้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคม ทรงกำหนดให้มี 2 พรรค คือ พรรคสุภาพบุรุษ และ พรรคแรงงาน ทรงนำแบบแผนผังการนั่งของผู้เข้าประชุมมาจากประเทศอังกฤษที่ประกอบด้วย ประธาน ผู้พูด ผู้รับเชิญ สมาชิกสตรี กรรมการบริหาร และที่นั่งของพรรคทั้ง 2 ที่อยู่ตรงข้ามกัน แต่เนื่องจากการทดลองสมาคมครึนี้มีการเปลี่ยนกรรมการผู้บริหารบ่อยเกินไปจึงทำให้สมาคมครึยุติบทบาทลง
นคราภิบาล เป็นการทดลองการปกครองในระบอบเทศบาลเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงลาผนวชแล้ว พระองค์ทรงให้สร้างเรือนแถวขึ้นตลอดแนวกำแพงพระตำหนักจิตรลดาเดิมกับวังปารุสกวัน(เก่า) โดยพระองค์ให้มหาดเล็กชั้นเด็กสมมุติเป็นราษฎรไปอยู่ที่เรือนแถวนั้น ทรงกำหนดหน้าที่ ระเบียบความเป็นอยู่และเขตการปกครอง กำหนดให้มีสภากรรมการ ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี เลขาธิการ นายแพทย์สุขาภิบาล และเชษฐบุรุษ (ผู้แทนราษฎรในท้องถิ่น) เรียกว่า คณาภิบาล นอกจากนั้น นคราภิบาลยังมีองค์ประกอบของการปกครอง เช่น หนังสือพิมพ์ประเภทชวนหวว ที่นำเสนอบทพระราชนิพนธ์และข่าวสารในนคราภิบาล กำหนดออกรายสัปดาห์แจกให้ราษฎรอ่าน ด้านเศรษฐกิจ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งธนาคารขึ้น ชื่อว่า แบงก์ลีฟอเทีย เพื่อรับฝากเงินจากราษฎรหรือมหาดเล็ก เป็นต้น
ภาพปกหนังสือพิมพ์ประเภทชวนหวว
เมืองทราย เป็นการทดลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นจากการที่พระองค์ทรงร่วมก่อกองทรายกับมหาดเล็กชั้นเด็กๆ ทรงสอนให้มหาดเล็กเหล่านั้นทราบถึงการสร้างเมืองและป้อมปราการ ในคราวที่เสด็จค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ เพื่อประทับรักษาพระอาการประชวร และเมื่อเสด็จกลับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ก็มีพระราชดำริจัดตั้ง ดุสิตธานี ขึ้นทันที
ภาพ : พระตำหนัก ณ ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ
ภาพปกหนังสือพิมพ์ประเภทชวนหวว
เมืองทราย เป็นการทดลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นจากการที่พระองค์ทรงร่วมก่อกองทรายกับมหาดเล็กชั้นเด็กๆ ทรงสอนให้มหาดเล็กเหล่านั้นทราบถึงการสร้างเมืองและป้อมปราการ ในคราวที่เสด็จค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ เพื่อประทับรักษาพระอาการประชวร และเมื่อเสด็จกลับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ก็มีพระราชดำริจัดตั้ง ดุสิตธานี ขึ้นทันที
ภาพ : พระตำหนัก ณ ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ
ดังที่ได้กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่ากว่าจะมีดุสิตธานีนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงศึกษาและทดลองใช้ระบอบการปกครองหลายรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีความรู้และความเข้าใจ มีพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินการจัดการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทุกแนวทางล้วนสะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพความเป็นนักปราชญ์ของพระองค์ได้เป็นอย่างดียิ่ง
---------------------------------------------------
รายการอ้างอิง
ดุสิตธานี : เมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2553.
โดม ลูกแม่จันทร์. เปิดตำนานดุสิตธานี : เมืองจำลอง...เมืองตุ๊กตา...เมืองประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ย้อนรอย, 2555.
อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช). ดุสิตธานีเมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2513.
---------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย : นางสาวพีรญา ทองโสภณ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
---------------------------------------------------
*เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 24773 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน