ขอเชิญชมเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ แหล่งเตาที่ดีที่สุดในประเทศไทย
นายโยธิน และนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท บีเอสวายกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้มอบเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ ให้กับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 164 รายการ มูลค่า 82 ล้านบาท โดยทำพิธีรับมอบอย่างเป็นทางการ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการรับมอบ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา
นายโยธิน และนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ได้มอบเครื่องปั้นดินเผาชุดนี้ให้กับกรมศิลปากร เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ และจัดแสดงในนิทรรศการเครื่องปั้นดินเผา ห้องลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อให้คนไทยโดยเฉพาะอนุชนรุ่นใหม่ ได้ภาคภูมิใจในความสามารถของคนไทยในอดีต ที่เป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพดีมาตั้งแต่โบราณ จากหลักฐานแหล่งผลิตที่เตาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกไปยังราชสำนักเมืองพระนครและเมืองอื่นภายใน อาณาจักรเขมรโบราณ เช่นเดียวกับในปัจจุบันคนไทยยังคงเป็นผู้ผลิตสินค้าชั้นนำที่มีคุณภาพดีส่งไป จำหน่ายทั่วโลก
2. เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาเมืองบุรีรัมย์ชุดนี้เมื่อจัดแสดงในนิทรรศการ เครื่องปั้นดินเผาที่ห้องลพบุรีแล้ว จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เข้ามาชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มากยิ่งขึ้น
นายโยธินใช้เวลาในการศึกษารวบรวมมากว่า 20 ปี ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องปั้นดินเผาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จนเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากนักวิชาการด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ทั่วโลกว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้ เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี กรมศิลปากรได้พบแหล่งผลิตเป็นเตาเผาจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ อันเป็นแหล่งอุตสาหกรรมในอดีต ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-19 นิยมผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์ คือใช้น้ำเคลือบสีน้ำตาล สีเขียว สร้างสรรค์เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าในภูมิภาค ปัจจุบันจึงพบเครื่องปั้นดินเผาจากเตานี้ ในแหล่งโบราณคดีที่เป็นศาสนสถานทั้งในประเทศไทย และประเทศกัมพูชา
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำโบราณวัตถุดังกล่าวจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปชม ณ ห้องศิลปะลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตามเจตนารมณ์ของผู้มอบ ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร
คนที พุทธศตวรรษที่ 13 (ประมาณ 1,300 ปี)
หม้อมีพวย เผาที่อุณหภูมิต่ำ เคลือบขี้เถ้าพืช ปากผายกว้าง คอยาว ไหล่กว้าง กดประทับแถบลวดลายบริเวณไหล่ การกดประทับแบบนี้เป็นที่นิยมมากในสมัยทวารวดี ปลายพวยปั้นติดลายใบไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับลวดลายบนทับหลัง ซึ่งพบที่จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว ลักษณะพิเศษของหม้อน้ำใบนี้ คือ การเคลือบผิว ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบยากในช่วงต้นประวัติศาสตร์เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว
ภาชนะรูปสัตว์ชนิดต่างๆ ได้แก่ นก กวาง กระต่าย หมูป่า สิงห์ ตัวนิ่ม แมว ปลา กบ ผลิตจากแหล่งเตาในจังหวัดบุรีรัมย์ สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่บริเวณ เทือกเขาพนมดงเร็ก
ไหรูปนก เตาเผาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ 17 - 18
ไหมีเชิง ลำตัวกลม ปั้นติดรายละเอียดส่วนหน้าตา ปีก จะงอยปากที่เป็นลักษณะของนก มีกรงเล็บหนา เกาะเหนี่ยวไว้ที่ฐาน เคลือบขี้เถ้าพืชที่มีส่วนผสมของแร่เหล็กออกไซด์ทำให้เกิดเคลือบสีน้ำตาล
ตลับเคลือบขี้เถ้าพืช ผลิตจากเตาพนมกุเลน จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 16 (ประมาณ 1,000ปีมาแล้ว)
คนโทรูปพระคเณศ เตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ 17 - 18 (ประมาณ 800 - 900ปีมาแล้ว)
คนโทเคลือบขี้เถ้าพืช บางแห่งมีการผสมแร่เหล็กออกไซด์ทำให้เกิดสีน้ำตาล ตอนบนปั้นเป็นรูปพระคเณศนั่งขัดสมาธิราบ สวมเครื่องประดับศีรษะ พระหัตถ์ขวาถืองาข้างที่หัก ตอนล่างเป็นภาชนะทรงกระบอกที่มีส่วนลำตัวคอดเว้า สันนิษฐานว่าเป็นภาชนะที่ใช้สำหรับพิธีกรรมในศาสนาฮินดู
คนโทรูปลิง เตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ 16 - 17 (ประมาณ 900 - 1,000ปีมาแล้ว
คนโทรเคลือบขี้เถ้าพืช ปากแคบ คอแคบสูง ลำตัวช่วงบนทำเป็นใบหน้าคล้ายลิง ลำตัวด้านหน้าปั้นติดหางยาว ใกล้ส่วนฐานด้านหน้าปั้นติดส่วนขา
ไหเคลือบสีน้ำตาล ผลิตจากแหล่งเตาในกัมพูชา พุทธศตวรรษที่ 18 - 19 (ประมาณ 700 - 800ปีมาแล้ว)
ไหเคลือบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เนื้อไม่ดี เคลือบไม่สม่ำเสมอ ปั้นติดรูปช้างสองตัวบนไหล่ รูปทรงของไหมีความสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี ไหใบนี้อาจเป็นต้นแบบให้แก่เครื่องปั้นดินเผาแหล่งเตาดังกล่าวในภาคกลางของประเทศไทย
คนที พุทธศตวรรษที่ 13 (ประมาณ 1,300 ปี)
หม้อมีพวย เผาที่อุณหภูมิต่ำ เคลือบขี้เถ้าพืช ปากผายกว้าง คอยาว ไหล่กว้าง กดประทับแถบลวดลายบริเวณไหล่ การกดประทับแบบนี้เป็นที่นิยมมากในสมัยทวารวดี ปลายพวยปั้นติดลายใบไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับลวดลายบนทับหลัง ซึ่งพบที่จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว ลักษณะพิเศษของหม้อน้ำใบนี้ คือ การเคลือบผิว ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบยากในช่วงต้นประวัติศาสตร์เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว
ภาชนะรูปสัตว์ชนิดต่างๆ ได้แก่ นก กวาง กระต่าย หมูป่า สิงห์ ตัวนิ่ม แมว ปลา กบ ผลิตจากแหล่งเตาในจังหวัดบุรีรัมย์ สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่บริเวณ เทือกเขาพนมดงเร็ก
ไหรูปนก เตาเผาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ 17 - 18
ไหมีเชิง ลำตัวกลม ปั้นติดรายละเอียดส่วนหน้าตา ปีก จะงอยปากที่เป็นลักษณะของนก มีกรงเล็บหนา เกาะเหนี่ยวไว้ที่ฐาน เคลือบขี้เถ้าพืชที่มีส่วนผสมของแร่เหล็กออกไซด์ทำให้เกิดเคลือบสีน้ำตาล
ตลับเคลือบขี้เถ้าพืช ผลิตจากเตาพนมกุเลน จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 16 (ประมาณ 1,000ปีมาแล้ว)
คนโทรูปพระคเณศ เตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ 17 - 18 (ประมาณ 800 - 900ปีมาแล้ว)
คนโทเคลือบขี้เถ้าพืช บางแห่งมีการผสมแร่เหล็กออกไซด์ทำให้เกิดสีน้ำตาล ตอนบนปั้นเป็นรูปพระคเณศนั่งขัดสมาธิราบ สวมเครื่องประดับศีรษะ พระหัตถ์ขวาถืองาข้างที่หัก ตอนล่างเป็นภาชนะทรงกระบอกที่มีส่วนลำตัวคอดเว้า สันนิษฐานว่าเป็นภาชนะที่ใช้สำหรับพิธีกรรมในศาสนาฮินดู
คนโทรูปลิง เตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ 16 - 17 (ประมาณ 900 - 1,000ปีมาแล้ว
คนโทรเคลือบขี้เถ้าพืช ปากแคบ คอแคบสูง ลำตัวช่วงบนทำเป็นใบหน้าคล้ายลิง ลำตัวด้านหน้าปั้นติดหางยาว ใกล้ส่วนฐานด้านหน้าปั้นติดส่วนขา
ไหเคลือบสีน้ำตาล ผลิตจากแหล่งเตาในกัมพูชา พุทธศตวรรษที่ 18 - 19 (ประมาณ 700 - 800ปีมาแล้ว)
ไหเคลือบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เนื้อไม่ดี เคลือบไม่สม่ำเสมอ ปั้นติดรูปช้างสองตัวบนไหล่ รูปทรงของไหมีความสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี ไหใบนี้อาจเป็นต้นแบบให้แก่เครื่องปั้นดินเผาแหล่งเตาดังกล่าวในภาคกลางของประเทศไทย
(จำนวนผู้เข้าชม 3760 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน