เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
มกร : สัตว์ผสมในจินตนาการสู่เครื่องประดับสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยหลายแห่ง เช่น เจดีย์หรืออาคารต่าง ๆ มักมีการประดับประดาด้วยประติมากรรมมากมาย หนึ่งในนั้นคือประติมากรรมรูป มกร สัตว์ผสมที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย ก่อนจะเผยแพร่ไปยังลังกาและดินแดนอุษาคเนย์ ดังพบงานศิลปกรรมรูปมกรตามพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นต้น
ในดินแดนประเทศไทย มีการค้นพบประติมากรรมรูปมกรในหลายวัฒนธรรม เช่น ทวารวดี ลพบุรี หริภุญไชย ล้านนา รวมถึงสุโขทัย การสร้างมกรในสมัยสุโขทัยปรากฏพบในงานปูนปั้นประดับศาสนสถาน ซึ่งรับอิทธิพลจากศิลปะเขมร มีลักษณะเป็นมกรคายนาคประดับอยู่บริเวณปลายกรอบหน้าบัน ก่อนจะพัฒนามาเป็นมกรสังคโลกซึ่งสร้างเลียนแบบมาจากงานปูนปั้น และปรับเปลี่ยนกลายเป็นมกรที่มีการผสมผสานระหว่างอิทธิพลศิลปะจีนและศิลปะเขมรในที่สุด โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดปะปนกัน เช่น มีเขาเหมือน กวาง มีงวงเหมือนช้าง มีปากเหมือนสิงห์ มีเคราเหมือนแพะ มีขาเหมือนจระเข้ และลำตัวมีเกล็ดเหมือนปลา
นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าประติมากรรมรูปมกรเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ประดับสถาปัตยกรรม ตามแนวคิดและความเชื่อหลายประการที่เข้ามาพร้อมกับคติการสร้างมกร อาทิ การเป็นสัญลักษณ์แทนน้ำ ซึ่งในความเชื่อของคนโบราณเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ การทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ดูแลศาสนสถาน รวมไปถึงแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมซึ่งเปรียบมกรเป็นวิชชาและนาคเป็นอวิชชา เมื่อมกรกลืนกินนาคจึงหมายถึงการนำวิชชาไปครอบอวิชชานั่นเอง
มกร จึงถือเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงความชาญฉลาดของคนสมัยสุโขทัยที่รับเอาคติความเชื่อและอิทธิพลทางศิลปะจากดินแดนต่าง ๆ แล้วนำมาผสมผสานจนเกิดเป็นงานศิลปกรรมแบบสุโขทัยที่ยังหลงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลัง
---------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
---------------------------------------------------------------
อ้างอิง
โชติกา นุ่นชู. มกรคายนาค พุทธศิลป์แห่งดินแดนล้านนาไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก silpa-mag.com/culture/article_35141 เพ็ญสุภา สุขคตะ. นาค มกร กิเลน ปัญจรูป วิวัฒนาการของศิลปะทวารวดี ขอม ลังกา พุกาม จีนในล้านนา (1) [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก matichonweekly.com/column/article_371989 _______. นาค มกร กิเลน ปัญจรูป วิวัฒนาการของศิลปะทวารวดี ขอม ลังกา พุกาม จีนในล้านนา (2) [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก matichonweekly.com/column/article_374305
(จำนวนผู้เข้าชม 3411 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน