เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
กรมศิลปากรรับมอบเงินสนับสนุนอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
วันจันทร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดี กรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีรับมอบเงินสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ระหว่างกรมศิลปากรและบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จำนวน ๒ ล้านบาท โดยมีศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ นายอนันต์ ชูโชติ และนายนิติกร กรัยวิเชียร เป็นผู้แทนบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมชั้น ๕ กรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์)
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การรักษาสืบทอดมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ จะต้องอาศัยความ ร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชน การสนับสนุนงบประมาณในโครงการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้ ถือเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการร่วมกันขับเคลื่อนความสำเร็จของงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้ยั่งยืนสืบไป
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในฐานะแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของจังหวัดกำแพงเพชร โดยโบราณสถานวัดช้างรอบ ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร ในพื้นที่เขตอรัญญิก มีเจดีย์ประธานเป็นศูนย์กลางของวัด ซึ่งคุณค่าความโดดเด่นของเจดีย์ประธานที่วัดช้างรอบแห่งนี้ คือ การประดับประติมากรรมช้างปูนปั้นรอบฐานเจดีย์ประธาน จำนวน ๖๘ เชือก มีเทคนิคการสร้างด้วยการใช้ศิลาแลงเป็นโกลนด้านในแล้วพอกแต่งปูนให้เกิดความสวยงามบนผิวภายนอก ประติมากรรมช้างพบครึ่งตัว มีส่วนหัวและขาหน้ายื่นออกมาจากฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ลักษณะที่พิเศษคือ การทำปูนปั้นเป็นเครื่องประดับบนตัวช้าง เรียกว่า ช้างทรงเครื่อง พื้นที่ผนังที่คั่นระหว่างช้างแต่ละเชือกมีปูนปั้นนูนต่ำลายพันธุ์พฤกษาประดับโดยรอบ ขณะนี้ประติมากรรมรูปช้างและลวดลายปูนปั้นต่าง ๆ อยู่ในสภาพชำรุด เสี่ยงต่อการพังทลายในอนาคต จึงมีความจำเป็นต้องอนุรักษ์อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ กรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย และกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมประติมากรรม กองโบราณคดี จึงได้ร่วมกันจัดทำแนวทางการดำเนินงานอนุรักษ์ประติมากรรมรูปช้างและลวดลายปูนปั้นประดับวัดช้างรอบ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี ๒๕๖๕ เพื่อให้โบราณสถานดังกล่าวซึ่งเป็นมรดกทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชาติที่เป็นแหล่งมรดกโลกของไทยให้มั่นคงแข็งแรง สวยงามต่อไป
สำหรับแนวทางในการอนุรักษ์ จะมุ่งเน้นไปที่การทำความสะอาดคราบไคล สิ่งสกปรกและวัชพืช ต่าง ๆ รวมถึงการเสริมความมั่นคงของศิลาแลง อิฐ ดินเผา ลวดลายประดับตกแต่ง ชั้นปูนฉาบและชั้นปูนปั้น เป็นหลัก โดยใช้วัสดุดั้งเดิมที่ใช้สำหรับการอนุรักษ์หรือวัสดุทดแทนที่ได้รับการยอมรับตามหลักสากล ไม่เป็นอันตรายต่อโบราณสถาน ไม่ทำให้พื้นผิวของวัสดุเปลี่ยนสภาพไป และไม่ปิดกั้นการระบายความชื้นภายในเนื้อวัสดุ ส่วนกรณีการปั้นซ่อมหรือเพิ่มเสริมให้ครบสมบูรณ์จะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่จำเป็นเท่านั้น
(จำนวนผู้เข้าชม 1008 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน