เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เจดีย์ช้างล้อมพบใหม่ที่แม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
ในปี ๒๕๖๔ นับได้ว่าเป็นปีแห่งการสานต่องานทางโบราณคดีที่สำคัญของสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ กับโครงการขุดค้นทางโบราณคดีโบราณสถานวัดส้มสุก ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะที่สอง
โบราณสถานสถานแห่งนี้ นับได้ว่าเป็นโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่ค้นพบในพื้นที่แอ่งที่ราบอำเภอแม่อายในปัจจุบัน ประกอบด้วยโบราณสถาน ๕ หลัง คือ เจดีย์ วิหาร และอาคารอีก ๓ หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างมากเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้คือ เป็นโบราณสถานที่มีขนาดวิหารใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีขนาดความกว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๔๐ เมตร และเสาวิหารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง ๑ เมตร นอกจากนั้นหลักฐานจากปูนปั้นที่บริเวณเจดีย์ ยังแสดงให้เห็นถึงความพิเศษของวัดแห่งนี้ เพราะมีชิ้นส่วนปูนปั้นรูปช้างบางส่วนติดอยู่ที่ฐานเจดีย์ แสดงให้เห็นว่าเจดีย์วัดส้มสุกนี้ เป็นเจดีย์ที่มีช้างล้อมรอบฐาน หรือที่เรียกว่า “เจดีย์ช้างล้อม” ซึ่งเป็นเจดีย์รูปแบบพิเศษของล้านนาที่ได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมจากสุโขทัยในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันในจังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏเจดีย์ช้างล้อมไม่กี่แห่ง ได้แก่ ที่วัดเจดีย์หลวง เจดีย์วัดเชียงมั่น เจดีย์วัดพระสิงห์ เจดีย์วัดหัวหนอง(เวียงกุมกาม) โดยในอดีตเจดีย์วัดสวนดอก และเจดีย์วัดป่าแดง เคยมีช้างล้อม แต่ภายหลังถูกเปลี่ยนแปลงสภาพ และเจดีย์ช้างล้อม ๒ องค์ล่าสุด ที่ได้รับการค้นพบในห้วง ๕ ปีที่ผ่านมานี้ คือ เจดีย์ช้างล้อม กลุ่มโบราณสถานสบแจ่ม อำเภอจอมทอง และเจดีย์วัดส้มสุกแห่งนี้
การดำเนินงานโบราณคดีที่โบราณสถานวัดส้มสุก ระยะที่สอง ในปี ๒๕๖๔ จะเปิดเผยให้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในแอ่งที่ราบฝาง-แม่อาย อันเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของพื้นที่เชียงใหม่ตอนบน ที่มีบริบทสำคัญต่อล้านนามาตลอดทุกยุคทุกสมัย
-----------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
(จำนวนผู้เข้าชม 1324 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน