เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
กระเบื้องมุงหลังคาแบบลอนสมัยทวารวดี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง
กระเบื้องมุงหลังคาแบบลอน พบในบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
กระเบื้องดินเผาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าโค้งงอเล็กน้อย ขนาดกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๙ เซนติเมตร ด้านบนตกแต่งเป็นสันนูนทำให้เกิดลอน ๓ ลอน ขนานกันตามแนวยาวของตัวกระเบื้อง คั่นด้วยร่องเว้าลงไป ๒ ร่อง สำหรับเป็นทางระบายน้ำฝน ด้านล่างมีผิวแบนเรียบ ปลายด้านหนึ่งมีเดือยทรงสามเหลี่ยมปลายงอ ใช้สำหรับเป็นตะขอเกี่ยวยึดกับโครงสร้างซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นระแนงไม้ เนื้อกระเบื้องมีเม็ดกรวดทรายปนอยู่ค่อนข้างมาก
นอกจากกระเบื้องชิ้นนี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทอง ยังมีการค้นพบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาแบบลอนอีกจำนวนหนึ่ง จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑๔ (โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมประเภทวิหาร มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โครงสร้างผนังก่ออิฐและเสาซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นไม้ รองรับน้ำหนักส่วนโครงสร้างหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ทั้งนี้ยังพบกระเบื้องรูปแบบคล้ายคลึงกันนี้จากโบราณสถานในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งไม่ทราบรูปแบบและหน้าที่การใช้งานอาคารอย่างแน่ชัด ตั้งอยู่บริเวณคันดินมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเมืองโบราณศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี อีกด้วย
นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีหลักฐานทางเอกสารที่กล่าวถึงกระเบื้องในสมัยทวารวดี ได้แก่ จดหมายเหตุทงเตี่ยน ซึ่งเป็นเอกสารจีนที่รวบรวบขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ มีเนื้อหาที่กล่าวถึงดินแดนโถวเหอ (นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตรงกับคำว่า “โตโลโปตี้” ที่หมายถึง “ทวารวดี”) ซึ่งเป็นที่รู้จักในสมัยราชวงศ์สุย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒) ว่ามีบ้านเรือนหรือวังของกษัตริย์ที่มีหลายชั้นและมีการใช้กระเบื้องมุงหลังคาด้วย
กระเบื้องชิ้นนี้เป็นกระเบื้องรูปแบบหนึ่งที่ชาวพื้นเมืองสมัยทวารวดี ใช้สำหรับมุงหลังคาซึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องไม้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่า เนื่องจากมีการค้นพบกระเบื้องดังกล่าวปริมาณไม่มากนัก อาจใช้สำหรับมุงหลังคาอาคารประเภทวิหาร มณฑป ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนา หรือที่อยู่อาศัยของบุคคลชั้นสูง ก็เป็นได้
---------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง https://www.facebook.com/Uthongmuseum/posts/1604825466381866
---------------------------------------------------
อ้างอิง :
เด่นดาว ศิลปานนท์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ปริศนาวิหารถ้ำเมืองอู่ทอง. กรุงเทพฯ : อรุณการ พิมพ์, ๒๕๕๙. สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. “กระเบื้องดินเผาสมัยทวารวดี : ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นที่เมืองนครปฐมโบราณ”. หน้า จั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย. ๙ (กันยายน ๒๕๕๕ – สิงหาคม ๒๕๕๖), ๓๐๒ – ๓๑๔.
(จำนวนผู้เข้าชม 519 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน